ชื่อพระ : หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ (ประตูม้า) ต.เวียง เหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง ประเทศไทย สภาพสวยงามแบบพอเพียง ณ. ขอ ร ับ

ปิดการประมูลอัตโนมัติ

1 / 2

2 / 2


 
 
ชื่อพระที่ต้องการส่งเข้าประมูล : หลวงพ่อเกษม เขมโก สำนักสงฆ์สุสานไตรลักษณ์ (ประตูม้า) ต.เวียง เหนือ อ.เมือง จ.ลำปาง ประเทศไทย สภาพสวยงามแบบพอเพียง ณ. ขอ ร ับ
ราคาเปิดประมูล : 10 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ : 999 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ : 10 บาท
คำอธิบายเพิ่มเติม :

มีสติสงบกายวาจา มีน้ำใจเมตตา ชีวิตย่อมอยู่ดีมีสุข เป็นที่รักของทุกคน 0894857104

                ณ ดินแดนถิ่นล้านนา ทางภาคเหนือของประเทศไทย พระอริยะสงฆ์ที่พวกเราทุกคนรู้จักชื่อเสียงคุณงามความดีของท่าน ก็คือ ครูบาศรีวิชัย อริยะสงฆ์องค์แรกของภาคเหนือท่านเปรียบเสมือนประทีปดวงใหญ่ที่ส่องประกายธรรมไปทั่วทุกสารทิศ ขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้ประกอบคุณงามความดีไว้กับแผ่นดินนี้มากมาย ท่านจึงถูกจัดให้เป็นบุคคลสำคัญในประวัติศาสตร์ของชาวเหนือ ประวัติและเรื่องราวต่าง ๆ ของท่าน จึงถูกบันทึกเพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ถึงในยุคปัจจุบันในพ.ศ. ๒๔๖๗ ครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบูรณะพระวิหารหลวง วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง พ่อหนานติ๊บ นามคุณา อดีตอาจารย์ (มรรคนายก) วัดศรีล้อม ขณะนั้นท่านอายุ ๑๙ ปี บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดพระแก้วดอนเต้า และเป็นผู้คอยติดตามอุปัฏฐากครูบาเจ้าศรีวิชัย พ่อหนานติ๊บ ได้เล่าว่า วันหนึ่ง ครูบาเจ้าศรีวิชัยบอกท่านว่า“เณร วันหน้าต๋นบุญสู จะมาเกิดในเมืองเวียงละกอน (ลำปาง) บ่าเดี่ยว (เวลานี้) ยังน้อยอยู่”ต่อมาเมื่อคำพยากรณ์นี้แพร่หลายออกไป ชาวลำปางก็ได้เฝ้ารอคอยการการค้นพบตนบุญ ที่ครูบาศรีวิชัยได้พยากรณ์ไว้ โดยที่ไม่ทราบเลยว่า ตนบุญที่ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัยพยากรณ์ว่า ได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วแต่ยังเด็กอยู่นั้น ได้มีอายุ ๑๒ ปี แล้วและมีนิวาสถานอยู่ ณ บ้านกลางใจเมืองลำปางนี่เอง และยังมีศักดิ์เป็น "หลานตา" ของเจ้าหลวงผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้ายที่เพิ่งพิราลัยไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๕ นี้เองเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๕ ได้มีครอบครัวเชื้อเจ้าผู้ครองนครลำปางหรือเขลางค์นครในอดีต หัวหน้าครอบครัวคือ เจ้าน้อยหนู* มณีอรุณ รับราชการเป็นปลัดอำเภอ ภรรยาชื่อเจ้าแม่บัวจ้อน มณีอรุณ มีอาชีพค้าขายเพชรพลอย ทั้งสองล้วนมีเชื้อสายของเจ้าผู้ครองนครลำปางทั้งสองฝ่าย* “น้อย” เป็นคำเรียก ชายชาวล้านนาที่ผ่านการบวชเณรมาแล้ว แต่ยังไม่เคยบวชพระ ถ้าเคยบวชพระแล้วสึกออกมา เรียกว่า “หนาน”สายสกุลข้างบิดาของเจ้าน้อยหนู คือบุตรสุดท้องของเจ้าน้อยแก้วมูล และเจ้าซาน บ้านนางแงะ (บ้านนางเหลียว) อำเภอเกาะคา จ.ลำปาง ในสายของเจ้าวังซ้าย เจ้าน้อยหนูเป็นหนึ่งในบรรดาลูกหลานของเจ้าหลวงบุญวาทยวงศ์มานิตย์ที่ได้ถูกคัดเลือกว่ามีสติปัญญา ความสามารถเพื่อไปศึกษาต่อที่ กรุงเทพฯ โดยให้อยู่ในความดูแลของกระทรวงมหาดไทย เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วให้บุคคลเหล่านั้นกลับมาทำงานรับใช้นครลำปาง อาทิ เจ้าบุตร ไปเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัย เจ้าน้อยหนู เจ้าน้อยขี้ไหน่ เจ้าน้อยสูญ ณ ลำปาง และเจ้าน้อยเต้า ณ ลำปาง ไปเรียนที่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ นายน้อย คมสัน ไปเรียนที่โรงเรียนอัสสัมชัญ และโรงเรียนเทพศิรินทร์ เป็นต้นครั้นเมื่อสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนเทพศิรินทร์แล้ว เจ้าน้อยหนูก็กลับมายังลำปาง เข้ารับราชการเป็นปลัดอำเภองาวและต่อมาได้ย้ายไปเป็นปลัดอำเภอเกาะคา ซึ่งเป็นถิ่นฐานบ้านเดิมของบิดามารดาของเจ้าน้อยหนู และได้ถึงแก่กรรมที่นี่ ทิ้งลูกเป็นกำพร้าแต่เมื่อเล็กสายสกุลข้างมารดาของเจ้าแม่บัวจ้อน คือบุตรีคนโตในจำนวนพี่น้องสามคนโดยมี เจ้าจี๋และเจ้าศรีโละ เป็นน้องถัดไป ถือกำเนิดแต่เจ้าน้อยเมืองแก้ว บุตรเจ้าวังซ้าย กับเจ้าแม่ศรีนวล บุตรีคนที่เจ็ดของ เจ้าหลวงนรนันทไชยชวลิต เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์ที่ ๙ กับเจ้าแม่กาบคำพี่ชายคนที่ ๔ ในพี่น้อง ๗ คนของเจ้าแม่ศรีนวล มารดาของเจ้าแม่บัวจ้อน คือ เจ้าชวลิตวงศ์วรวุฒิ (เจ้าน้อยหมู ณ ลำปาง) มีศักดิ์เป็นเจ้าราชสัมพันธ์และรองเจ้าผู้ครองนครลำปางสมัยเจ้าหลวงบุญวาทย์วงศ์มานิต ซึ่งเป็นเจ้าพี่ต่างมารดา ราชบุตรของเจ้าหลวงนรนันทไชยชวลิตผู้ครองนครลำปาง องค์ที่ ๙ถึงสมัยรัชกาลที่หก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามสกุลให้แก่ผู้บำเพ็ญคุณงามความดี และ เจ้าหลวงบุญวาทย์วงศ์มานิต ได้รับพระราชทานนามสกุล ณ ลำปาง เมื่อวันที่ ๕ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๗ครอบครัวนี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านท่าเก๊าม่วง ริมแม่น้ำวัง อ.เมือง จ.ลำปาง อยู่กินกันมาอย่างมีความสุขในที่สุดเจ้าแม่บัวจ้อนได้ตั้งครรภ์และพอถึงกำหนดคลอดตรงกับวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๕๕ ตรงกับวันพุธ เดือนยี่ (เหนือ) ปีชวด ร.ศ.๑๓๑ ค.ศ.๑๙๑๒ เจ้าแม่บัวจ้อนก็ได้ให้กำเนิดทารกเพศชาย เป็นลูกคนแรกของครอบครัวบิดามารดาก็ได้ตั้งชื่อทารกนั้นว่า เกษม และเพราะเด็กชายเกษม ได้เกิดมาในเชื้อสายของเจ้าทางเหนือ นับทางสายมารดา ท่านมีศักดิ์เป็น “หลานตา” ของเจ้าหลวงบุญวาทย์วงศ์มานิต จึงได้รับการยกย่องของคนทั่วไป ทุกคนต่างเรียกกันว่า เจ้าเกษม มณีอรุณเจ้าเกษมองค์น้อย เมื่อถือกำเนิดมาก็ยังมิได้มีนามสกุล เนื่องจากในขณะนั้นพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๔๖ ยังมิได้ประกาศใช้ ครั้นเมื่อพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๔๖ มีผลบังคับใช้ เจ้าน้อยหนู ผู้เป็นบิดาก็ได้ตั้งนามสกุลของตนว่า มณีอรุณ ตามนิมิตแห่งความฝันของเจ้าแม่บัวจ้อนในขณะที่ยังตั้งครรภ์หลวงพ่อเกษม ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ได้ใช้นามสกุล มณีอรุณ เรื่อยมา แต่ภายหลังที่ท่านกำพร้าบิดาก็ได้ใช้นามสกุล ณ ลำปางของมารดาแทน ตามที่บัญญัติไว้ในมาตราเจ็ดแห่งพระราชบัญญัติขนานนามสกุล พ.ศ. ๒๔๔๖ ว่า “เมื่อบิดาของบุคคลใด ไม่ปรากฏอยู่ชั่วกาลใด บุคคลนั้นต้องใช้ชื่อสกุลฝ่ายมารดาชั่วกาลนั้น”หลังจากที่ได้ให้กำเนิดเจ้าเกษม มณีอรุณได้ ๓ ปี ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ เจ้าแม่บัวจ้อนได้ให้กำเนิดทารกอีกคนหนึ่งเป็นเพศชาย ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้องสืบสายเลือดของ เจ้าเกษม บิดามารดาได้ตั้งชื่อให้ว่า "สวาสดิ์" แต่ทว่าเจ้าสวาสดิ์นี้วาสนาน้อย ได้เสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก จึงไม่มีโอกาสได้รู้ว่าพี่ชายของตนคือ ตนบุญ ที่ชาวลำปางรอคอยเป็นสิบ ๆ ปีเมื่อวัยเด็ก เจ้าเกษม ณ ลำปาง เป็นคนรูปร่างสันทัด ผิวขาวแต่ดูเข้มแข็ง บุคลิกลักษณะดีมาแต่กำเนิด ว่องไวคล่องแคล่ว และมีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เป็นเด็กที่ชอบซน คืออยากรู้อยากเห็น นุ่มนวล แสดงออกซึ่งลักษณะของการประนีประนอม ไม่เห็นแก่ตัวแข็งกร้าวแต่อย่างใด ในวัยเด็กหลวงพ่อค่อนข้างจะซุกซนมากในหมู่เพื่อนๆ วัยเดียวกัน นอกจากจะเที่ยวเล่นสนุกสนานในละแวกหมู่บ้านท่าเก๊าแล้ว เรื่องสนุกอีกอย่างหนึ่งของหลวงพ่อในตอนนั้นก็คือ การได้ลงเล่นน้ำในแม่น้ำวัง โดยเฉพาะการได้กระโดดจากสะพานรัษฎาภิเศกสู่กระแสน้ำเบื้องล่าง เป็นเรื่องที่โปรดที่สุดเมื่อถึงวัยเรียน เจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้รับการศึกษาระดับประถมที่โรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำ อ.เมือง จ.ลำปาง ซึ่งสมัยนั้นเรียกกันง่าย ๆ ว่า “โรงเรียนหน้าคุ้ม” เหตุที่เรียกกันอย่างนั้นก็เพราะ ตัวโรงเรียนตั้งอยู่หน้าคุ้มหลวงของ “เจ้าพ่อ พลตรีเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต” เจ้าผู้ครองนครลำปางองค์สุดท้ายพอดี ที่สำคัญก็คือโรงเรียนนี้ พลตรีเจ้าบุญวาทย์ฯ บรรพบุรุษคนหนึ่งของเจ้าเกษม เป็นผู้ก่อตั้งขึ้น โดยใช้ชื่อของท่านคือ “บุญทวงศ์” มีคำ “อนุกูล” ต่อท้าย ทีแรกต้องการให้เด็ก ๆ ที่ใช้นามสกุล ณ ลำปาง ซึ่งมีเป็นจำนวนมาก รวมทั้งลูกหลานของคนมีสตางค์ในเมืองได้อาศัยเข้าเรียนกัน แต่ภายหลังได้ขยายออกกว้างให้เด็ก ๆ ในจังหวัดลำปางทุกคน จะเป็นลูกใครก็ไม่สำคัญ ล้วนมีสิทธิ์เรียนที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เสมอเท่าเทียมกัน สมัยนั้นโรงเรียนได้เปิดสอนชั้นสูงสุดแค่ชั้นประถมปีที่ ๕ เท่านั้นเจ้าเกษม ณ ลำปาง ได้ศึกษาจนจบชั้นสูงสุดของโรงเรียน คือชั้นประถมปีที่ ๕ ใน พ.ศ.๒๔๖๖ ขณะนั้นอายุ ๑๑ ปี คุณครูที่เคยสอนเจ้าเกษม คือ คุณครูอินคำ สัจจะรักษ์ และคุณครูศรีศักดิ์ (กี๋) สิงหศักดิ์หลังการสำเร็จการศึกษาระดับประถม หลวงพ่อก็ไม่ได้เข้ารับการศึกษาที่ไหนอีก ด้วยสมัยนั้นการศึกษาในชั้นสูงๆ เป็นเรื่องยากลำบาก เพราะบ้านเมืองยังขาดแคลนบุคลากร ตลอดจนเครื่องไม้เครื่องมือในการสอน อีกทั้งความจำเป็นก็ยังมีไม่มาก กล่าวคือถ้าไม่หวังเข้ารับราชการ แค่ชั้นประถมก็เพียงพอแล้วอีก ๒ ปีถัดมา ใน พ.ศ. ๒๔๖๘ อายุขณะนั้นได้ ๑๓ ปี เจ้าเกษม ณ ลำปาง ก็ได้มีโอกาสเข้าสู่ร่มกาสาวพัสตร์ โดยบรรพชาเป็นสามเณร เนื่องในโอกาสบรรพชาหน้าศพ (บวชหน้าไฟ) ของเจ้าอาวาสวัดป่าดัวะ ซึ่งเป็นเครือญาติกัน ครั้นบวชได้เพียง ๗ วันก็ลาสิกขาออกไปต่อมาในปีพ.ศ. ๒๔๗๐ เจ้าเกษม ณ ลำปาง ขณะนั้นมีอายุ ๑๕ ปี ได้กลับมาบวชเณรอีกครั้งหนึ่งที่วัดบุญยืน จังหวัดลำปาง ด้วยผู้เป็นมารดาได้เห็นอุปนิสัยของหลวงพ่อน้อมมาทางธรรม จึงส่งเสริมสนับสนุนให้เจ้าเกษมได้อยู่ในร่มเงาของผ้ากาสาวพัสตร์อันเป็นร่มเงาแห่งความสงบร่มเย็น (บางข้อมูลระบุว่าหลวงพ่อได้บวชเณรเนื่องในการฉลองโรงไฟฟ้าจังหวัดลำปาง)เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ญาติผู้น้องของท่านซึ่งคอยอยู่รับใช้ใกล้ชิดสมัยเมื่อท่านบวช ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ตอนหนึ่งถึงเหตุจูงใจในการบวชเณรครั้งที่สองของท่านไว้ว่า “เพราะการชักนำมาบวชเณรของตุ๊เจ้าเหมย เพื่อต้องการเอามาเป็นช่างฮ่ำ ช่างจ๊อยแท้ ๆ”  (นักขับเพลงร้องพื้นบ้านประกอบดนตรีทางภาคเหนือ)ท่านเจ้าอาวาสของวัดบุญยืนในขณะนั้น คือครูบาคำเหมย (สุธรรม) เจ้าสำนักมีเมตตาจิตต่อศิษย์สามเณรได้ให้ความอนุเคราะห์แก่หลวงพ่อเป็นอย่างดี ทั้งในด้านความเป็นอยู่และทางด้านการศึกษา การประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรนั้นแบ่งออกเป็น “ปริยัติ” และ “ปฏิบัติ”“ปริยัติ” ก็คือ การศึกษาคำสอนทั้งปวงที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ ซึ่งก็คือ การศึกษาคำสอนในพระไตรปิฎกนั่นเอง ซึ่งก็แบ่งออกเป็นการศึกษาปริยัติธรรมชั้นต้นในภาษาไทยที่เรียกว่า “การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม” หรือเรียกสั้นๆ ว่า “นักธรรม” แบ่งออกเป็น นักธรรมตรี นักธรรมโท และนักธรรมเอก ตามลำดับการศึกษาอีกอย่างหนึ่งก็คือ “การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลี” หรือ การเรียนภาษาบาลีนั่นเอง ซึ่งแบ่งออกเป็น เปรียญ ๑ ประโยค ถึงชั้นสูงสุด คือ เปรียญ ๙ ประโยคชีวิตหลังการบรรพชา สามเณรเกษม ณ ลำปาง ก็ได้เรียนทั้ง แผนกธรรม และแผนกบาลี ควบคู่กันไป แต่เนื่องจากสำนักที่สอนแต่ละแผนกไม่ได้ตั้งอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ท่านจึงต้อง เดินทางไปมา ระหว่างสำนักที่สอนแผนกธรรม และสำนักที่สอนแผนกบาลีสำนักที่ท่านเรียน แผนกธรรม หรือ เรียนนักธรรมได้แก่สำนักวัดเชตวัน ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนนบุญวาทย์ ส่วนสำนักที่เรียนภาษาบาลี คือวัดศรีล้อม ซึ่งอยู่ถนนพระแก้ว ในตัวเมืองลำปาง คนละฝั่งแม่น้ำกับสำนักวัดเชตวัน อย่างไรก็ตามระยะทางระหว่างวัดทั้งสองก็ห่างกันเพียง ๑ กิโลเมตรเศษ สามเณรเกษมจึงใช้เวลาไม่มากในการเดินทางไปศึกษาในแต่ละสำนักในประวัติไม่ได้กล่าวถึงอาจารย์ที่เป็นผู้สอนท่านในระดับนักธรรมตรี และ นักธรรมโทไว้ แต่ก็ทราบว่าท่านได้ตั้งใจศึกษาในแผนกธรรมอย่างจริงจัง จนผ่านการสอบศึกษานักธรรมชั้นตรี (ไม่ปรากฏปีที่ท่านจบนักธรรมตรี) และและท่านก็เรียนนักธรรมชั้นโท ต่อที่สำนักวัดเชตวันเช่นเดิม และ สามารถสอบได้นักธรรมชั้นโทในปีพุทธศักราช ๒๔๗๔ดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นแล้วว่าสามเณรเกษมได้ศึกษาแผนกบาลีควบคู่กันไปกับ แผนกธรรม โดยการศึกษาบาลีท่านเรียนที่สำนักวัดศรีล้อม ซึ่งอยู่ถนนพระแก้ว ในตัวเมืองลำปาง สำนักนี้สอนบาลีเบื้องต้น จำพวกไวยากรณ์ เจ้าสำนักชื่อครูบาต๋าคำ นนฺทิโย ป.ธ.๓ หรือพระครูวิบูลเมธี (ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่พระวิบูลเมธี) โดยมีพระมหามงคล บุญเฉลิม ธนวฑฺโฒเป็นผู้ช่วยสอนต่อมาสามเณรเกษมก็ได้เข้ารับการศึกษาบาลีระดับกลาง ที่สำนักวัดบุญวาทย์วิหาร ตั้งอยู่กลางเมืองลำปาง อาจารย์ผู้สอนคือพระมหาปราโมทย์ (นาม) นวลนุช ป.ธ.๓นอกจากนี้สามเณรเกษม ยังได้ศึกษากับครูบาอาจารย์อีกหลายท่าน คือ พระมหาสุรัส อภิรโส ปธ.๙ พระเทพวิสุทธิเวที (สุด ฐิตวีโร ป.ธ.๙) การเรียนครั้งนั้นไม่มีการสอบในสนามสอบลำปาง และสามเณรเกษมตั้งใจว่าจะเรียนเพื่อรู้เท่านั้นไม่ได้เรียนเพื่อหวังสอบ แต่กระนั้นก็เรียนได้ดีมากครั้นมีอายุได้ ๒๑ ปี อายุครบที่จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุได้แล้ว จึงได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุในปี พ.ศ.๒๔๗๕ ณ พัทธสีมา วัดบุญยืน โดยมีพระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระธรรมจินดานายก (ฝาย) เจ้าอาวาสวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดในขณะนั้นเป็น พระอุปัชฌาย์พระครูอุตตรวงศ์ธาดา หรือที่ชาวบ้านเหนือรู้จักกันในนาม ครูบาปัญญาลิ้นทอง เจ้าอาวาสวัดหมื่นกาด ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเจ้าคณะอำเภอ อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระครูวิมลธรรมปัญญา (อุ่นเรือน ธมฺมปญฺโญ ป.ธ.๓ สมณศักดิ์สุดท้ายคือ พระธรรมจินดานายก) เจ้าอาวาสวัดป่าดัวะ เป็นพระอนุสาวนาจารย์เมื่ออุปสมบทแล้วท่านได้รับฉายาว่า เขมโก แปลว่า ผู้มีธรรมอันเกษม พิธีอุปสมบทครั้งนี้มีเจ้าแม่บุญปั๋น พงศ์พันธ์ (ณ ลำปาง)  และคณะศรัทธาวัดบุญยืน  เป็นแรงสำคัญในพิธีอุปสมบทครั้งนั้นหลังจากได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุแล้ว ก็ได้เข้าศึกษาต่อในขั้นบาลีภาคกลางที่สำนักวัดบุญวาทย์วิหาร ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากวัดบุญยืนที่ภิกษุเจ้าเกษมจำพรรษาอยู่ไปเพียงช่วงถนนเดียวเท่านั้น เพื่อให้เกิดความแตกฉานยิ่งๆ ขึ้น โดยมีครูสอนที่สำคัญคือ พระมหามั่ว อภิชโย พรหมวงศ์, พระมหาปราโมทย์ (นาม) นวลนุช ปธ. ๓, พระมหาโกวิทย์ โกวิทญาโน ปธ. ๕, พระมหาสุรัต อภิรโส ปธ. ๙ และพระมหาสุด ฐิตวีโร ปธ. ๙ (ต่อมาได้รับพระราชทานตั้งและเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่พระเทพวิิสุทธิเวที วัดมหาพฤฒาราม กรุงเทพมหานคร) เป็นอาจารย์ผู้สอน ภาษาบาลีที่ศึกษาเล่าเรียนนี้ท่านตั้งใจเพียงว่า จะเรียนเพื่อรู้เท่านั้น ไม่ใช่เรียนเพื่อสอบ แต่ถึงกระนั้นท่านก็ยังสามารถเรียนได้ดีมาก จากการทดสอบความรู้ อาจารย์ผู้สอนได้รับรองไว้ว่า ภิกษุเจ้าเกษมเป็นผู้มีความรู้แตกฉานในภาษาบาลียิ่งนักในเวลาเดียวกันกับการเรียนภาษาบาลีนั้น ท่านก็ได้ไปศึกษาทางด้านปริยัติในแผนกนักธรรมต่อ หลังจากที่สามารถสอบนักธรรมชั้นโทได้ในปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เมื่อครั้งเป็นสามเณรแล้ว โดยเรียนที่สำนักวัดเชียงราย ครูผู้สอนคือ พระสิงห์คำ จนฺทวํโส (สมณศักดิ์สุดท้ายเป็นที่ พระเทพวิสุทธิโสภณ เจ้าคณะจังหวัดลำปาง) ปรากฏว่าพระภิกษุเจ้าเกษม เขมโก ก็สามารถสอบนักธรรมชั้นเอกได้ในปี พ.ศ.๒๔๗๙ ขณะที่มีอายุ ๒๔ ปีและในปีถัดไป ทางด้านการเรียนภาษาบาลีที่สำนักวัดบุณยวาทย์วิหาร ท่านก็สามารถแปลพระธรรมบทได้ ๘ ภาค ได้เรียนพระปาฏิโมกข์ และเป็นผู้สวดพระปาฏิโมกข์ในอุโบสถวัดบุณยวาทย์วิหารหลายปี แต่เมื่อถึงเวลาสอบเปรียญสาม ท่านไม่ยอมสอบ ทั้งๆ ที่มีความสามารถ ครูบาอาจารย์ทุกองค์ต่างก็เข้าใจดีว่า พระภิกษุเกษม เขมโก ไม่ต้องการมีสมณศักดิ์สูง ๆ แต่เรียนเพื่อจะนำเอาวิชาความรู้มาใช้ในการศึกษาค้นคว้าพระธรรมคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้นเมื่อสำเร็จทางด้านปริยัติพอควรแล้ว สามารถนำไปใช้ในการศึกษาธรรมะได้โดยไม่หลงทางแล้ว ท่านจึงหันมาศึกษาทางด้านการปฏิบัติทางสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานต่อไป พระภิกษุเกษม เขมโกท่านได้เสาะแสวงหาครูบาอาจารย์ที่มีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในด้านนี้ จนกระทั่งได้ทราบข่าวภิกษุรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงในด้านวิปัสสนากรรมฐาน และยังเก่งรอบรู้ในด้านพระธรรมวินัยอย่างแตกฉานอีกด้วย ภิกษุรูปนี้ คือครูบาแก่น (อุบล สุมโน) อดีตเจ้าอาวาสวัดประตูป่องครูบาแก่น สุมโน เป็นพระภิกษุสายวิปัสสนา ถือธุดงค์เป็นวัตร หรือที่เรียกกันว่า พระป่า หรือภาษาทางการเรียกว่า พระภิกษุฝ่ายอรัญญวาสี ตอนนั้นครูบาแก่นท่านได้ธุดงค์แสวงหาความวิเวกทั่วไป ยึดถือป่าเป็นที่บำเพ็ญเพียรพระภิกษุเกษม เขมโก จึงเดินทางไปขอฝากตัวเป็นศิษย์และได้อธิบายความต้องการที่จะศึกษาในด้านวิปัสสนาให้ครูบาแก่นฟัง ครูบาแก่น สุมโน เห็นความตั้งใจจริงของภิกษุเกษม เขมโก ท่านจึงรับไว้เป็นศิษย์ และได้นำภิกษุเกษม เขมโก ออกท่องธุดงค์ไปแสวงหาความวิเวกและบำเพ็ญเพียรตามป่าลึกตามที่ภิกษุเกษม เขมโก ต้องการ จึงถือได้ว่า ครูบาแก่น สุมโน รูปนี้เป็นอาจารย์ทางวิปัสสนากรรมฐานรูปแรกของ พระภิกษุเจ้าเกษม เขมโกดั้งนั้น พระภิกษุเกษม เขมโก จึงได้เริ่มก้าวไปสัมผัสชีวิตของภิกษุฝ่ายอรัญญวาสี ประกอบกับจิตของท่านโน้มเอียงมาทางสายนี้อยู่แล้ว จึงไม่ใช่เป็นเรื่องลำบากสำหรับในการไปธุดงค์ กลับเป็นการได้พบความสงบสุขโดยแท้จริงกับความเงียบสงบ ซ้ำยังได้ดื่มด่ำกับรสพระธรรมอันบังเกิดท่ามกลางความวิเวก พระภิกษุเกษม เขมโก จึงมุ่งมั่นปฏิบัติธรรมอย่างจริงจัง โดยมีครูบาแก่นแนะอุบายธรรมอย่างใกล้ชิดระหว่างท่องธุดงค์แสวงหาความวิเวกในที่สงัดตามป่าเขา และป่าช้าต่าง ๆ การฉันอาหารในบาตร คือ อาหารหวานคาวรวมกัน เรียกว่า ฉันเอกา ไม่ร่วมอาสนะกับสงฆ์อื่น ฉันมื้อเดียว ช่วงบ่ายก็จะเดินจงกรม เพื่อเปลี่ยนอิริยาบถ พร้อมกำหนดจิตจนกระทั่งถึงเย็น เมื่อเสร็จจากการเดินจงกรม ก็กลับมานั่งบำเพ็ญภาวนาต่อไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงประมาณ ๕ ทุ่ม เสร็จจากการบำเพ็ญภาวนา ก็สวดมนต์ทำวัตรเย็น ในตอนดึกก่อนจำวัด ท่านก็ไม่นอนเหมือนคนธรรมดาทั่วไป ท่านจะจำวัดในท่าหมอบเท่านั้น และที่ท่านจะทำเป็นกิจวัตรอีกอย่างหนึ่งก็คือ การกรวดน้ำอุทิศส่วนบุญส่วนกุศล แผ่เมตตาไปให้กับสรรพสัตว์ทั้งหลายท่านจะออกธุดงค์กับครูบาแก่นเช่นนี้จนกระทั่งถึงช่วงเข้าพรรษาที่พระภิกษุจำเป็นต้องยุติการท่องธุดงค์ชั่วคราว ต้องอยู่กับที่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง จะเป็นวัดอารามหรือถือเอาป่าช้าเป็นวัด โดยกำหนดเขตเอาตามพุทธบัญญัติ ช่วงนั้นภิกษุเจ้าเกษม เขมโก ก็จะแยกทางกับอาจารย์คือครูบาแก่น กลับมาจำพรรษาที่วัดบุญยืนตามเดิม พอครบกำหนดออกพรรษาแล้ว ภิกษุเกษม เขมโก ก็จะออกติดตามอาจารย์ของท่าน คือครูบาแก่นออกธุดงค์บำเพ็ญภาวนาอีก ท่านได้ถือปฏิบัติเช่นนี้เรื่อยมาการออกธุดงค์กับครูบาแก่นซึ่งในสมัยนั้นนับได้ว่าเป็นพระภิกษุระดับอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวิปัสสนากัมมัฏฐานของจังหวัดลำปาง เป็นพระวิิปัสสนาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดัง วัตรปฏิบัติที่ท่านเน้นเป็นพิเศษและถือปฏิบัติอยู่เป็นประจำคือการอยู่ป่า อยู่ถ้ำ สถานที่วิเวกทั้งหลาย เป็นที่บำเพ็ญเพียร ก็ได้ซึมซับเข้าอยู่ในใจของภิกษุเจ้าเกษมจนน่าจะทำให้ท่านมีจริตอัธยาศัยน้อมไปในแนวทางของธุดงควัตรโดยที่การปฏิบัติธุดงค์ที่เป็นไปโดยถูกต้องตามพุทธประสงค์นั้น ผู้ที่ประสงค์จะปฏิบัติต้องเรียนรู้และขัดเกลาตนเองให้ประกอบไปด้วยธรรมที่เป็นบริวารของธุดงค์ ๕ ประการ คือ มีความมักน้อย, มีความสันโดษ พอใจในสิ่งที่ตนมี, ความเพียรในการขัดเกลากิเลส, พอในในความวิเวก และ รู้ว่าปฏิบัติธุดงค์ไปก็เพื่อธรรมนั้นธรรมทั้ง ๕ ประการ จะคอยเตือนสติให้ผู้ปฏิบัติรู้ว่าตนต้องทรงภูมิธรรมอย่างนี้ ถ้าถือธุดงค์แล้วยังมีพฤติกรรมที่ตรงกันข้ามกับธรรม ๕ ประการนั้น เช่น ยังมักมาก ไม่สันโดษ ไม่ปลีกตน ยังคลุกคลีกับหมู่คณะ ไปไหนมาไหนมีบริษัทบริวารติดตามห้อมล้อม และไม่รู้ว่าจุดมุ่งหมายของการปฏิบัติธุดงค์เพื่ออะไร อย่างนี้ก็จะกลายเป็นธุดงค์หาลาภ บริวาร ยศ ชื่อเสียง เกียรติคุณไปเมื่อหลวงพ่อเกษมได้พบว่าตนเองมีจริตอัธยาศัยน้อมไปในแนวทางของธุดงควัตร ก็ได้เตรียมตัวฝึกฝนตนให้พร้อมที่จะบำเพ็ญธุดงควัตรอย่างเต็มตัว ซึ่งหลวงพ่อเกษมได้ยึดกสิณ ๑๐ โดยเฉพาะการฝึกเพ่งเตโชกสิณเป็นประการสำคัญและอสุภะ ๑๐ เป็นอารมณ์แห่งสมถกัมมัฏฐานและวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพราะเป็นอารมณ์ที่เหมาะกับจริตอัธยาศัยของท่าน โดยท่านได้นำเอากะโหลกศีรษะคนตาย มาเพ่งในห้องนอน ซึ่งเป็นการฝึกขั้นเบื้องต้นในอันที่จะนำไปสู่การปฏิบัติโสสานิกธุดงค์ต่อไป ดังข้อเขียนเรื่องหลวงพ่อเกษมกับกะโหลกหัวผี ในหนังสืออนุสรณ์ครบรอบ ๘๐ ปี หลวงพ่อเกษม เขมโก ความว่า“...มีเสียงเล่ากันว่า ในวิหารวัดบุญยืนมีกะโหลกหัวผีอยู่ในนั้น กะโหลกหัวผีนั้น ท่านเกษม นำมาประดิษฐานไว้เพื่อพิจารณาเรื่องกาย สังขารของมนุษย์ เพื่อฝึกสมาธิญาณอันเป็นแนวทางที่จะบรรลุธรรมชั้นสูง ทำให้เด็กพากันกลัว ไม่กล้าเข้าไปใกล้วิหารวัดบุญยืนอีกต่อไป วันเวลาผ่านไป พระภิกษุเกษม เขมโก ก็ยิ่งปฏิบัติก้าวไปไกลขึ้น ในด้านสัจธรรมทางอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ว่ากันว่าตัวท่านได้พิจารณากะโหลกหัวผีอยู่หลายปี โดยใช้กะโหลกหัวผีเป็นที่ปักเทียน เพ่งกสิณอันเป็นสมถกัมมัฏฐานอย่างหนึ่ง ว่าด้วยอารมณ์ที่กำหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี อาโป เตโช และวาโย พระภิกษุเกษม เขมโก ได้เพียรพยายามด้วยความวิริยะอุตสาหะในอันที่จะบรรลุธรรมชั้นสูง คือ วิมุตติ หรือความหลุดพ้น ท่านได้นั่งวิิปัสสนากัมมัฏฐานต่อไปเรื่อย ๆ...ทั้งนี้โดยอาศัยแกนนำคือกะโหลกหัวผีเป็นสิ่งเริ่มต้น”ในช่วงระหว่างปี พ.ศ.๒๔๘๐ – ๒๔๘๓ วัตรปฏิบัติธรรมกรรมฐานของภิกษุเจ้าเกษม เขมโกในช่วงที่จำพรรษาอยู่ที่วัดบุญยืนตามคำบอกเล่า (บางส่วน) ของ คุณ “ภาส ภาสกร” ที่ได้เขียนบันทึกไว้ใน หนังสืออนุสรณ์ครบรอบ ๘๐ ปีเกิด ของหลวงปู่ครูบาเจ้าเกษม เขมโก เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ไว้ มีดังนี้"สมัยนั้นที่จำได้ ระหว่างปี พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๘๓ ผู้เขียนยังบวชเป็นสามเณร และต้องมาเรียนนักธรรมตรีที่สำนักวัดป่าดัวะ ข้างโรงเรียนบุญทวงศ์อนุกูล (ร.ร.เทศบาล ๓ ในขณะนี้) โดยมีหลวงพ่อท่านเจ้าคุณ “พระราชสุธรรมาภรณ์” (พระอินทวิชยาจารย์ - พระปลัดหล้า ปัญญาคำ) เป็นเจ้าสำนัก ซึ่งในสมัยนั้นเวลาที่จะต้องเข้าเรียนอยู่ระหว่าง ๑๕-๑๖.๐๐ น. ฉะนั้น ผู้เป็นนักเรียนจะต้องมาถึงสำนักเรียนก่อนเวลา ตอนนั้นพวกเรา (นักเรียนธรรม) รู้ว่าหลวงพ่อเกษมท่านปฏิบัติกรรมฐานในพระวิหาร (ที่ถูกคืออุโบสถ วัดบุญยืนมีขนาดเล็กมาก ไม่มีพระวิหาร) ของวัดบุญยืน (ซึ่งเป็นวัดเดิมที่หลวงพ่อจำพรรษาอยู่)พวกเรามักจะย่องไปแอบดูตามช่องรอยแยกของประตูวิหาร (โบสถ์) เห็นหลวงพ่อนั่งสงบนิ่ง เพ่งดวงไฟซึ่งจุดไว้บนหัวกะโหลกซากศพ ทุกคนรู้ว่าท่านต้องการความสงบ จึงไม่มีใครส่งเสียงรบกวน หลวงพ่อจะนั่งกรรมฐานเช่นนี้ทุกวัน พอตกเย็นประมาณ ๑๘-๑๙.๐๐ น. ท่านจะออกไปที่ป่าช้าศาลาวังทาน หน้าวัดป่ารวก ซึ่งปัจจุบันคือ สถานีโทรทัศน์ ช่อง ๘ ลำปาง โดยไปปฏิบัติพิจารณา อสุภกรรมฐาน ต่ออีก จนรุ่งเช้าของวันใหม่ ท่านจึงจะกลับมาออกบิณฑบาตโปรดสัตว์ และกลับวัดเพื่อปฏิบัติกิจประจำที่ต้องปฏิบัติทุกวัน หลวงพ่อท่านจะปฏิบัติเช่นนี้เป็นประจำเสมอมิได้ขาดระหว่างที่หลวงพ่อไปปฏิบัติอยู่ที่ป่าช้าศาลาวังทาน นิสัยช่างอยากรู้อยากเห็นของพวกเรา ได้ทำให้พวกเราชวนกันออกไปเยี่ยมหลวงพ่อเป็นบางครั้งเมื่อมีโอกาส ซึ่งพวกเราในสมัยนั้นผู้เขียนจำได้ว่ามี คุณสัมพันธ์ เรือนศรี (มหาสัมพันธ์ในสมัยนั้น), พระมหาสวัสดิ์ สุขรัตนาภรณ์, พระมหากันทร (กำนันกันทร ทาไชยวงศ์), พระมหาโกวิทย์ (อดีตพระครูวีรสารโกวิทย์) ต่างก็พร้อมใจกันออกไปป่าช้าศาลาวังทานในยุคนั้น ซึ่งยังคงเป็นป่ารกทึบ ร่มครึ้ม ต้นไม้ (ต้นไผ่) หนาแน่นมาก ถ้ามีฝนตกลงมา อากาศจะชื้นหนาวเย็น โดยเฉพาะจะมีกลิ่นเหม็นของผ้าพันศพที่เขามัดตราสังศพ  และแก้ออกทิ้งในโรงล้างศพโชยมา แต่หลวงพ่อท่านไม่ได้หวั่นไหวต่อสภาพแวดล้อม ซึ่งมีทั้งกลิ่นและความชื้นแฉะเหล่านี้เลยมีอยู่ครั้งหนึ่งท่านพระมหาโกวิทย์ (พระครูวีรสารโกวิทย์ - โกวิท ดำรงค์เพ็ชญ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสุชาดาราม มรณภาพ พ.ศ. ๒๕๒๕) สังเกตเห็นตามร่างกายของหลวงพ่อเป็นรอยด่างดวงแดงเป็นวง ซึ่งพวกเรารู้ว่าเป็นโรคเกลื้อน และกลาก จึงถามหลวงพ่อว่า“คันไหม ?”ท่านบอกว่า “คัน”พระมหาสวัสดิ์บอกว่า จะเอายาทาแก้โรคเกลื้อนมาให้ คือ ยาสกินนาในสมัยนั้น เพื่อหลวงพ่อจะได้ทาแก้คัน แต่ปรากฏว่าหลวงพ่อยกมือห้าม คือ ปฏิเสธไม่ให้เอามา โดยให้เหตุผลว่า “โรคเกลื้อนกลากนี้เป็นโรคพยาธิที่มีตัว (ตัวพยาธิมีชีวิต) ถ้าใส่ยาเข้าไปแล้วจะเป็นการฆ่าสัตว์ ต้องอาบัติ”พวกเราต่างพากันงงไปหมด พระมหาโกวิทย์ถามหลวงพ่อว่า “ถ้าอย่างนั้นจะเอาอะไรมารักษาจึงจะหาย และไม่ต้องอาบัติ”ท่านผู้อ่านคงจะแปลกใจเป็นอย่างมากที่หลวงพ่อท่านตอบ พร้อมกับเอามือชี้ตรงที่ตั้งของหัวใจว่า “อธิจิตตัง” ผู้เขียนเข้าใจว่าท่านคงจะหมายถึงการเอาอำนาจจิตเข้ารักษาหลังจากนั้นอีกประมาณสองสามเดือน เมื่อพวกเรามีโอกาสได้ไปนมัสการเยี่ยมหลวงพ่ออีกครั้ง พวกเราสังเกตดูสุขภาพร่างกายของหลวงพ่ออย่างละเอียดว่า ท่านยังมีโรคพยาธิรบกวนอยู่อีกหรือไม่ ปรากฏว่าทั่วร่างกายของท่าน ไม่ว่าจะเป็นบนหน้าอก ด้านหลัง หรือ ตามซอกรักแร้ ไม่มีรอยกลากเกลื้อนให้เป็นจุดด่างดวงเลยแม้แต่นิดเดียว ทั่วร่างกายของท่านผิวหนังสะอาดราบเรียบ เป็นที่อัศจรรย์ใจจริง ๆ ถ้าเป็นพวกเราปุถุชนธรรมดาที่เป็นโรคผิวหนังเช่นนี้ ก็คงจะสาระวนหายากิน ยาทา ยาฉีดมารักษากันให้จ้าละหวั่นไปหมด เพราะกลัวโรคจะลุกลาม และเสียโฉมบนร่างกาย แต่หลวงพ่อท่านไม่ยินดียินร้ายต่อสิ่งเหล่านี้เลยถ้าจะว่าไปแล้ว ป่าช้าศาลาวังทานในสมัยนั้น นอกจากจะเป็นป่ารกครึ้มแล้ว ยังเต็มไปด้วยเชื้อโรคนานาชนิด ความอับชื้นเป็นเหตุให้เกิดพยาธิเชื้อราได้ง่าย กลิ่นเหม็นจากซากศพ ผ้าพันศพ กลิ่นอับ มีส่วนทำให้เกิดโรคทางเดินของการหายใจได้ ทั้งนี้ไม่รวมถึงโรคมาลาเรีย ภยันตรายจากสัตว์เลื้อยคลานงูเงี้ยวเขี้ยวขอ ตะเข็บตะขาบ และยุงลาย แต่หลวงพ่อท่านก็สามารถไปบำเพ็ญเพียร พักนอนโดยไม่ต้องใช้มุ้งเลย ซึ่งนับว่าท่านเป็นผู้มีขันติอันเลิศเหนือบุคคลธรรมดาเช่นเราระยะหลัง ๆ นอกจากบำเพ็ญเพียรใน เตโชกสิณ และ อสุภกรรมฐาน แล้ว พวกเรายังเห็นหลวงพ่อนำซากโครงกระดูกเต็มร่างมาตั้งกลางวิหาร เพื่อพิจารณา อสุภ หรือ กายคตาสติกรรมฐาน อีก”นั่นเป็นวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเกษมในช่วงปี พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๓ ต่อมาในปลายปี ๒๔๘๔ ก็ได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ ขึ้น ญี่ปุ่นบุกเข้ามาเพื่อเคลื่อนพลผ่านประเทศไทย ซึ่งในช่วงแรกๆ ก็ยังไม่มีเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับองค์หลวงพ่อเกษมนัก ท่านก็ยังคงปฏิบัติวัตรของท่านไปตามที่เคยปฏิบัติ แต่ต่อมา เมื่อไทยตัดสินใจร่วมเป็นพันธมิตรทางทหารกับญี่ปุ่น ซึ่งนำไปสู่การประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ ในเดือนมกราคม ๒๔๘๕ จากนั้นทางกองทัพญี่ปุ่นก็ได้เตรียมการบุกเข้าประเทศพม่าโดยแบ่งออกเป็นสองเส้นทางคือ เส้นทางรถไฟกาญจนบุรี และ เส้นทางรถยนต์ทางจังหวัดเชียงใหม่ (เส้นทางเชียงใหม่-ตองอู) ทางจังหวัดลำปางเองกองทัพญี่ปุ่นก็ได้เคลื่อนพลเข้ามาตั้งกองกำลัง โดยใช้บ้านส่างโต เป็นที่ตั้งกองบัญชาการทหาร และยึดเอาข่วงโปโลบริเวณสวนสาธารณะเขลางค์นครลำปาง ในปัจจุบัน เป็นที่ตั้งกองพันทหารม้า ทหารญี่ปุ่นได้ยึดอาคารสำคัญในเมืองโดยเฉพาะอาคารร้านค้าบริเวณกาดกองต้า ขณะที่อาคารสถานที่ของกลุ่มชนคู่สงครามอย่าง อังกฤษ และอเมริกัน เช่น โรงพยาบาลแวนแซนวูด โรงเรียนเคนเน็ตแมคเคนซี ต่างก็โดนยึดเป็นที่ตั้งกำลังพลทหารญี่ปุ่น แม้แต่วัดน้ำล้อม ก็มีการเล่าว่า มีทหารรถถังของญี่ปุ่นมาขอพักที่วัด จังหวัดลำปางจึงเป็นเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ของทางฝ่ายพันธมิตรที่จะมาโจมตีทางอากาศ เพื่อยับยั้งแผนการบุกพม่าของกองทัพญี่ปุ่น หลายครอบครัวในตัวเมือง ได้ทำการย้ายไปอยู่นอกเมืองชั่วคราวเพื่อหลบภัยสงคราม บางร้านในเมืองก็พรางอาคารด้วยยอดมะพร้าว หรือเอาสีดำมาทาตัวตึกมีข้อมูลบางแห่งได้บอกว่า ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง คือระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔ - ๒๔๘๘ หลวงพ่อเกษมได้ออกจากวัดบุญยืนไปปฏิบัติธุดงควัตรยังสถานที่ ๒ แห่ง คือ ณ ป่าช้าร่องสามดวง ซึ่งอยู่บนถนนจามเทวี ทางไปอำเภอห้างฉัตร ห่างจากวัดบุญยืนไปทางนอกเมืองประมาณ ๔ ก.ม. และอีกแห่งหนึ่งคือ บ้านง้าวตึง (ปัจจุบันคือบ้านง้าวพิชัย) ซึ่งอยู่ห่างจากสุสานร่องสามดวงบนถนนเดียวกันไปอีก ๘ กิโลเมตร แต่หลวงพ่อจะไปปฏิบัติ ณ สถานที่แห่งใดก่อนหลัง ไม่มีข้อมูลระบุไว้ แต่เนื่องจากในระหว่างเวลาสงครามโลกดังกล่าว มีเหตุการณ์ที่ทำให้ความตั้งใจของหลวงพ่อเกษม ที่ต้องการจะปลีกวิเวกออกไปปฏิบัติโสสานิกธุดงควัตร (คืออยู่แต่ในป่าช้าเป็นวัตร) ต้องเนิ่นนานออกไป คือเหตุที่ท่านต้องรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ สันนิษฐานว่าในระยะแรกของสงคราม สถานการณ์ยังไม่รุนแรงมากนัก ท่านจึงน่าจะออกไปปฏิบัติธุดงควัตรที่ป่าช้าร่องสามดวงซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองเพียง ๔ ก.ม. จนกระทั่งเมื่อท่านต้องมารับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ในปี ๒๔๘๖ สภาวะสงครามในจังหวัดลำปางหลังจากนั้นก็รุนแรงยิ่งขึ้น การโจมตีจากฝ่ายสัมพันธมิตรมากยิ่งขึ้น ถึงขั้นมียุทธเวหาเหนือนครลำปาง ในเดือนพฤศจิกายน ๒๔๘๗ หลวงพ่อเกษมจึงย้ายไปปฏิบัติธุดงควัตร ณ สุสานบ้านง้าวตึง (ปัจจุบันคือบ้านง้าวพิชัย) ซึ่งอยู่ห่างจากสุสานร่องสามดวงไปอีก ๘ กิโลเมตรตามข้อมูลข้างต้นทำให้เราทราบได้ว่า หลวงพ่อเกษมท่านได้ออกปฏิบัติในป่าช้ามานานแล้ว แต่เป็นการปฏิบัติแบบไปๆ มาๆ ท่านคงตั้งใจไว้ว่า เมื่อฝึกฝนตนเองได้พร้อมขนาดหนึ่ง ก็จะสมาทานโสสานิกธุดงควัตร คือถือการอยู่ในป่าช้าเป็นวัตร อย่างจริงจัง แต่ก็เกิดเหตุการณ์ที่ทำให้ท่านต้องชะลอความตั้งใจที่จะออกธุดงค์ไปอย่างไม่มีกำหนดก็คือเมื่อเจ้าอธิการคำเหมย เจ้าอาวาสวัดบุญยืนถึงแก่มรณภาพลง ก็มีพระอธิการต่อมคำ (เจ้าต่อมคำ  ณ ลำปาง บุตรเจ้าหนานอินตา  น้องเจ้าน้อยจู) ดำรงตำแหน่งแทน ต่อมาพระต่อมคำเกิดเบื่อหน่ายต่อผ้ากาสาวพัสตร์จึงได้ลาสิกขา (ในประวัติวัดบุญยืนได้มีข้อมูลที่แตกต่างออกไปคือ เจ้าอาวาสองค์ต่อจากพระอธิการเหมย คือ พระอธิการหมอก พระอธิการต่อมคำ และ พระอธิการหม่อม จากนั้น จึงจะเป็นพระอธิการเกษม เขมโก) ทำให้ตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืนว่าง ทางคณะสงฆ์จึงต้องเลือกภิกษุที่มีคุณสมบัติมาปกครองดูแลวัด เพื่อเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อไปคณะสงฆ์จึงได้ประชุมกันและต่างลงความเห็นพ้องต้องกันว่าควรจะเป็นภิกษุเกษม เขมโก เพราะเป็นพระที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งเจ้าอาวาสองค์ต่อไป แม้ท่านจะไม่ยินดียินร้ายต่อการได้รับเลือกเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน แต่ท่านก็ห่วงทางวัด เพราะท่านเคยจำพรรษาอยู่ที่วัดนี้ ท่านก็เห็นว่าบัดนี้ทางวัดบุญยืนมีภารกิจต้องดูแล ก็ถือว่าเป็นภารกิจทางศาสนาเพราะท่านเองต้องการให้พระศาสนานี้ดำรงอยู่ จึงไม่อาจจะดูดายภารกิจนี้ได้ จึงยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ในช่วงระยะประมาณปี พ.ศ. ๒๔๘๖หลวงพ่อเกษม เมื่อได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสแล้ว ก็ได้บริหารวัดบุญยืน ควบคู่กับการศึกษาพระธรรมวินัย และสนใจในการปฏิบัติธรรมชั้นสูงขณะที่อยู่วัดบุญยืน ทุกวันหลวงพ่อจะปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างสม่ำเสมอ เรื่องอื่นท่านไม่สนใจเลยเช่น หญ้าจะขึ้นรกขนาดไหน ท่านก็ปล่อย ไม่แผ้วถาง ไม่ตัดให้สั้น ขอปฏิบัติทางจิตอย่างเดียว ระวังไม่ให้จิตรุงรังเป็นใช้ได้ บางทีท่านอาจจะกลัวเสียเวลาที่ต้องไปจัดการเรื่องนั้นเรื่องนี้ ปล่อยวันคืนให้ล่วงไปเปล่า ชีวิตก็หดสั้นเข้าไปทุกที แต่สังสารวัฏยาวนานเหลือเกิน เพื่อความไม่ประมาท ท่านได้เร่งวันคืนแห่งการปฏิบัติให้ผ่านพ้นไปอย่างเข้มข้นและมีความหมายปฏิปทาและวัตรปฏิบัติของหลวงปู่ จากคำบอกเล่าของเจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง น้องชายของท่าน ซึ่งท่านรักและเอ็นดูเปรียบเสมือนบุตรบุญธรรม ได้เล่าบันทึกเทปเอาไว้ว่า“...เมื่อเป็นเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ในกุฏิ ตามข้างฝา เต็มไปด้วยภาษิต หลักปฏิบัติธรรมเต็มไปหมด...”“...หลวงพ่อ (เจ้าประเวทย์เรียกหลวงปู่ว่า “หลวงพ่อ” ไม่เรียก “หลวงพี่” ตามศักดิ์) เวลาอยู่วัดนั้นจะวิปัสสนาภาวนาอย่างเดียว ท่านไม่สนใจเรื่องสร้างวัด หญ้าก็ไม่แผ้วถาง ปล่อยให้ขึ้นรกรุงรัง เวลาออกบิณฑบาตกลับวัด จะต้องเอาข้าวอาหารที่ได้รับ มาแบ่งข้าว และจิ้มส้ม ใส่บาตรไปให้แม่ก่อน ให้แม่กินก่อน แล้วก็เอาข้าว โยนให้นก ให้หมา กา กิน เวลาออกบิณฑบาต มีหมาตามเป็นฝูง เพราะมันเคยได้ส่วนบุญกินเจ้าแม่บัวจ้อน กลัวลูกจะไม่ได้กินดีตอนอยู่วัดบุญยืน เวลาแกงผัก ก็แอบเอาฮ้า (ปลาร้า) ใส่ในแกง หลวงพ่อดมมีกลิ่น ไม่ฉัน แล้วพูดออกมาว่า ใครเอาฮ้าใส่แกง ผมก็ต้องรับเอาว่า ผม (เจ้าประเวทย์) เอาฮ้าใส่ ท่านพูดน้อย ไม่กิน แล้วไม่พูดหลวงพ่อฉันมื้อเดียว ข้าวปลาอาหาร ขนม ที่เหลือก็ขว้างทิ้งให้นกกาหมากินหมด”พระเกษม เขมโกได้บริหารวัดบุญยืนควบคู่กับการศึกษาพระธรรมวินัย ความรอบรู้ของท่านนับได้ว่าแตกฉานลึกซึ้งมากขึ้น ในระยะแรกๆ ที่ท่านบริหารวัดบุญยืนในฐานะเจ้าอาวาสนั้น เวลาส่วนใหญ่ของท่านคือการฝึกฝนสมาธิจิต ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานอย่างอดทนที่สุด จนเมื่อชื่อเสียงในวัตรปฏิบัติอันเคร่งครัดของท่านได้เป็นที่รับทราบทั่วไปจนเป็นที่เคารพศรัทธา เกียรติคุณของท่านเริ่มขจรขจายไปทั่วทุกสารทิศ ญาติโยมศรัทธานาบุญเริ่มหลั่งไหลเข้าสู่วัดบุญยืน ท่านมองเห็นว่ามันมิใช่หนทางที่จะนำไปสู่ความหลุดพ้นได้เลย ตำแหน่งเจ้าอาวาส ทำให้ท่านมีเวลาน้อยสำหรับการปลีกวิเวก เพราะต้องมัววุ่นวายอยู่กับการปกครองพระภิกษุสามเณร และการต้อนรับผู้ไปมาหาสู่ที่มีมาเป็นประจำ ความเป็นอิสระเริ่มหาได้ยากขึ้นทุกวัน ๆ หาความสงบกายสบายใจไม่ได้เหมือนดังก่อน ลาภ ยศ สรรเสริญ และความสุขในตำแหน่งเจ้าอาวาส กับจุดหมายบำเพ็ญปฏิบัติตามโลกุตรวิถี มิอาจที่จะร่วมทางกันได้เป็นแน่แท้พระเกษม เขมโกจึงได้ตัดสินใจขอนมัสการกราบลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบุญยืน ต่อท่านพระอินทวิชยาจารย์ (หล้า อินฺทวิชโย) วัดคะตึกเชียงมั่น เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์เป็นพระครูอินทรวิชัย ซึ่งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองลำปางในขณะนั้น ท่านเจ้าคณะอำเภอตกใจมาก ยับยั้งไว้ไม่ให้ลาออกเพราะหลวงพ่อเกษม เป็นพระที่ชาวบ้านศรัทธามาก ท่านลาออกไปอาจทำให้ประชาชนกระเทือนใจได้แม้จะผิดหวังแต่ท่านก็มิได้ละความพยายาม จึงเดินทางไปลาออกกับ พระเดชพระคุณท่านเจ้าคุณพระเทพวิสุทธิโสภณ (สิงห์คำ จนฺทวํโส) เมื่อครั้งเป็นที่พระสีหสุวรรณวิสุทธิ์ เจ้าคณะจังหวัด ซึ่งอยู่ที่วัดเชียงราย แต่ท่านเจ้าคณะจังหวัดก็ไม่อนุญาตเช่นกันเรื่องการลาออกจากการเป็นเจ้าอาวาสของครูบาเจ้าเกษม เขมโก นี้ดูค่อนข้างจะเป็นเรื่องแปลกพิสดาร แม้แต่การสละตำแหน่งลาภยศท่านยังต้องประสบกับอุปสรรคต่าง ๆ นานา ไม่เหมือนกับพระองค์อื่น ๆ ที่ฟันฝ่าอุปสรรคเพื่อแสวงหาลาภยศเมื่อท่านลาออกไม่สำเร็จ ในวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นคืนวันอาสาฬหบูชา ก่อนวันเข้าพรรษาเพียงวันเดียว หลวงพ่อก็หนีออกจากวัดบุญยืนโดยไม่มีใครรู้ แม้แต่เณรเวทย์ (เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง มีศักดิ์เป็นน้องหลวงพ่อเกษม โดยเป็นบุตรเจ้าแม่จี๋ น้องสาวเจ้าแม่จ้อน กับเจ้าหนานน้อย ณ ลำปาง ซึ่งขณะนั้นเจ้าประเวทย์บวชเป็นเณรและเป็นผู้ปรนนิบัติรับใช้ใกล้ชิด) ก็ไม่มีโอกาสรู้ พอเช้าวันรุ่งขึ้นซึ่งเป็นวันเข้าพรรษา หมู่ศรัทธาก็นำอาหารมาเตรียมถวายในวิหาร ทุกคนรอแล้วรอเล่าก็ไม่เห็นหลวงพ่อเกษม จึงเกิดความวุ่นวายเที่ยวตามหาตามกุฏิก็ไม่พบหลวงพ่อเกษมพอมาที่ศาลาทุกคนเห็นกระดาษวางบนธรรมาสน์เป็นข้อความที่หลวงพ่อเกษมเขียน ลาศรัทธาชาวบ้านยาวถึง ๒ หน้ากระดาษ“ทุกอย่างเราสอนดีแล้ว อย่าได้คิดไปตามเรา เพราะเราสละแล้ว การเป็นเจ้าอาวาส เปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัวต้องรับผิดชอบภาระหลายอย่าง ไม่เหมาะสมกับเรา เราต้องการความวิเวก  ไม่ขอกลับมาอีก”เมื่อทราบดังนั้น ในวันนั้นเอง พวกชาวบ้านก็ไม่ละความพยายาม เพราะชาวบ้านเหล่านี้ศรัทธาในตัวหลวงพ่อ รวมตัวกันได้ ๔๐-๕๐ คน ก็ออกเดินทางไปตามหาหลวงพ่อเกษม และไปพบหลวงพ่อที่ป่าช้าศาลาวังทาน ซึ่งเป็นป่าช้าที่หลวงพ่อใช้เป็นที่ปฏิบัติธุดงควัตรอยู่เป็นประจำนั่นเอง หลวงพ่อเกษมได้ไปปฏิบัติธรรมที่นั่น พวกชาวบ้านได้อ้อนวอนหลวงพ่อขอให้กลับวัด เพราะวันนี้เป็นวันเข้าพรรษา ศรัทธาชาวบ้านจะทำบุญกินทาน ขอให้กลับวัดเถิด บางคนถึงกับร้องไห้เพราะศรัทธาในตัวหลวงพ่อมาก แต่หลวงพ่อเกษมท่านก็นิ่งไม่พูดไม่ตอบ จนพวกชาวบ้านต้องยอมแพ้ตลอดพรรษาปี ๒๔๙๒ หลวงพ่อเกษมท่านก็อยู่ที่ป่าช้าศาลาวังทาน เป็นพรรษาที่ ๑๘ โดยไม่ยอมกลับวัดบุญยืนป่าช้าศาลาวังทาน สถานที่ที่ไม่มีใครอยากไปเดินเล่น แต่หลวงพ่อเกษมพอใจมาก หลวงพ่อเห็นว่าสถานที่แห่งนี้เป็นที่สงบเหมาะสมแก่การบำเพ็ญกรรมฐานเพื่อสร้างกำลังจิตให้มั่นคง เด็ดเดี่ยวและสร้างกำลังปัญญาให้สามารถตัดกิเลส พิชิตทุกด้านทุกๆ วันหลวงพ่อเกษมจะนั่งอยู่หน้าเชิงตะกอนที่กำลังทำหน้าที่เผาไหม้ซากศพไร้ชีวิต แม้แดดจะร้อนเปรี้ยงสักเพียงใดท่านก็ไม่ไหวหวั่น ยังคงนั่งนิ่งอยู่อย่างนั้นพระเกษมเจริญกรรมฐานเพื่อเผาฝังกิเลสอย่างอุกฤษฏ์ชนิดที่ท้าลมฝนและแสงแดด ไม่สนใจสภาพแวดล้อมว่าจะเป็นอย่างไร แม้จะมีผู้คนนินทาว่าร้าย หาว่าเป็นพระบ้าๆ บอๆ ท่านยังคงดำรงในสมณธรรมอย่างมั่นคง อยู่ในท่าอันสงบนิ่ง ความยินดียินร้ายมิอาจทำให้หวั่นไหว อยู่อย่างสงบจึงสยบความปากร้ายของชาวบ้านได้เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ญาติผู้น้องของท่านซึ่งคอยอยู่รับใช้ใกล้ชิดสมัยเมื่อท่านบวช ได้ให้สัมภาษณ์ไว้ตอนหนึ่งถึงความเป็นอยู่ของท่านในช่วงอยู่สุสานศาลาวังทานของท่านไว้ว่า“ภายหลังท่านหนีออกจากวัดบุญยืน ไปอยู่ป่าช้าศาลาวังทาน ท่านกลัวอะไรรู้ไหม?หลวงพ่อกลัวเหยียบมด นั่งทับมดตายตอนไปอยู่ป่าช้าศาลาวังทาน ผมต้องตามไปปฏิบัติ บางครั้งท่านนั่งภาวนาบนศาลา บางครั้งผมนอน ท่านก็มานั่งอยู่เหนือศีรษะผม นั่งภาวนาดึกดื่น คืนหนึ่งฝนตก ผมนอนไม่หลับ เพราะมดนับล้านตัว เป็นฝูงใหญ่ หนีฝนขึ้นมาบนศาลา กัดเอาผมขณะที่นอน ผมลุกขึ้น หากระดาษมาจุดไฟเผา ตายทั้งฝูงใหญ่ หลวงพ่อลืมตามอง ไม่พูด รุ่งเช้า ท่านเขียนจดหมาย สั่ง เหมือนคำสั่ง บอกว่า“เณรเวทย์ กลับไปล้างส้วมที่วัด ๑๕ วัน”เมื่อใกล้จะออกพรรษาในปีนั้น ฝ่ายพวกชาวบ้านคณะศรัทธาวัดบุญยืนก็ยังไม่ละความพยายาม ในวันออกพรรษา ก็รวมตัวกันเข้าไปพบเจ้าแม่บัวจ้อน โยมแม่ของหลวงพ่อ เพื่อขอให้ช่วยเกลี้ยกล่อมให้หลวงพ่อกลับวัดบุญยืนดังเดิม โยมแม่รักหลวงพ่อเกษมมาก เพราะท่านมีลูกชายคนเดียว จึงให้คนพาไปหาหลวงพ่อที่ศาลาวังทาน โดยมี เณรเวทย์ (เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง) ติดตามไปด้วย โยมแม่ได้ขอร้องให้หลวงพ่อเกษมกลับวัด แต่หลวงพ่อกลับบอกโยมแม่ว่า“แม่..! เฮาบ่เอาแล้ว เฮาบ่เหมาะสมกับวัด เฮาชอบความวิเวก เฮาขออยู่อย่างวิเวกต่อไป เฮาจะไปอยู่ที่ป่าเหี้ยว (ป่าช้า) แม่อาง”จนทำให้โยมแม่หมดปัญญา ไม่รู้จะขอร้องยังไง ผลที่สุดก็ต้องตามใจหลวงพ่อ ปล่อยให้ท่านปฏิบัติธรรมในความวิเวกที่ท่านปรารถนาวันรุ่งขึ้นหลวงพ่อเกษมก็ออกจากศาลาวังทานเดินทางไปบ้านแม่อาง ต.บ้านแลง อ.เมืองลำปาง ด้วยเท้าเปล่า ระยะทางประมาณ ๒๘.๕ กิโลเมตร ท่านออกเดินทางแต่เช้ามืดไปถึงป่าช้าแม่อางก็ค่ำพอดี เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง เล่าถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้นว่า“เจ้าแม่บัวจ้อนรักหลวงพ่อมาก กลัวหลวงพ่อจะอดบ้าง เป็นห่วงเป็นใยอย่างอื่น ๆ บ้าง เพราะเป็นลูกคนเดียว หลวงพ่อจะไปอยู่ไหน ก็จะต้องตามไปอยู่ใกล้ ๆ เสมอ ทำอาหารที่เชื่อว่าท่านจะฉันไปถวาย หลวงพ่อเองก็อนุเคราะห์โยมมารดาอยู่อย่างสม่ำเสมอ เป็นต้นว่าเวลากลับจากบิณฑบาตถึงวัดแล้ว ก็จะต้องตักข้าวแบ่งอาหารและผลไม้ต่าง ๆ ใส่ฝาบาตรไปให้โยมมารดากินก่อน แล้วท่านจึงฉันทีหลังพอฉันเสร็จท่านก็จะแบ่งให้คนบ้าง สัตว์บ้าง กินกันต่อไปเมื่อหลวงพ่อย้ายไปอยู่ป่าช้าแม่อาง เจ้าแม่บัวจ้อนถึงกับยอมทิ้งกิจการตามไป เจ้าแม่บัวจ้อนเป็นแม่ค้าขายเพชรพลอยได้นำเอาของมีค่า สลุงเงิน เครื่องเงินเครื่องทองออกขายในราคาถูก ๆ และแจกให้ฟรี ๆ แก่คนอื่นไปจนหมดเกลี้ยงไม่ค้าขายอะไรแล้วจะตามไปอยู่กับพระลูกชาย โดยเจ้าแม่บัวจ้อนให้คนไปตามตัวโกเกต หรือเกต พงษ์พันธุ์ ซึ่งเป็นญาติใกล้ชิดพาเจ้าแม่ไปส่งที่ป่าช้าแม่อาง ผมเป็นเณรก็ติดตามหลวงพ่อไปชาวบ้านได้สร้างศาลาให้เจ้าแม่บัวจ้อนอยู่ข้างวัดแม่อาง ส่วนหลวงพ่อเข้าไปนั่งปฏิบัติธุดงควัตรของท่านในป่าช้า บนดอยแม่อาง บำเพ็ญวิปัสสนากัมมัฏฐาน ปฏิบัติได้หนึ่งพรรษา ฝ่ายเจ้าแม่บัวจ้อน ที่อยู่ศาลาข้างวัดทนคิดถึงลูกไม่ไหว ก็ออกติดตามไปอยู่ที่ป่าช้าข้างดอย โดยไปสร้างศาลาใกล้ ๆ กับที่ปฏิบัติของหลวงพ่อ เจ้าแม่มีคนรับใช้อยู่คนหนึ่งชื่อเปี้ย (ปัจจุบัน ๒๕๔๐ ยังมีชีวิตอยู่ อายุ ๗๐ กว่าปีแล้ว)เจ้าแม่บัวจ้อนไปอยู่ในป่าได้ระยะหนึ่งก็ล้มป่วยลงด้วยโรคไข้ป่าจึงได้ให้คนไปตามหมอมารักษา แต่แล้วอาการก็ไม่ดีขึ้น อาการกลับทรุดหนักลง เจ้าแม่บัวจ้อนยังมีสติดีอยู่ เรียกผมเข้าไปใกล้ ๆ แล้วบอกว่า“เณรเวทย์ เงินมีอยู่ซาวเอ็ดบาท (ยี่สิบเอ็ดบาท) เก็บไว้บนหัวนี้เน้อ ถ้าตายให้ไปบอกลุงมา”แล้วหลับตา หลวงพ่อได้มานั่งดูอาการของเจ้าแม่ สวดมนต์ผมก็สวดตาม เป็นที่น่าแปลกมาก ขณะที่หลวงพ่อสวดมนต์อยู่นั้น ก็มีผึ้งบินมาวนเวียนตลอดไปมาจนผมทนรำคาญไม่ไหว จึงได้คว้าไม้จ้องตีไล่มันตลอดเวลา หลวงพ่อไต้ลืมตาขึ้นแล้วกระซิบห้ามด้วยเสียงแผ่วเบา แล้วสวดมนต์ต่อไป ผมจึงสวดตามท่าน ครู่หนึ่ง เจ้าแม่ก็ถอดจิตตายไปด้วยอาการอันสงบผมสังเกตเห็นเบ้าตาหลวงพ่อมีน้ำตาไหล ท่านแผ่บุญแผ่กุศลแล้วภาวนาต่อไปจนจบแล้วลืมตา หลวงพ่อพูดกับผมด้วยประโยคสั้น ๆ ว่า “แหม...เฮาว่าจะบ่ไห้แล้วนา” ผมมองดูใบหน้าของเจ้าแม่บัวจ้อน ซึ่งหมดลมไปแล้ว ใบหน้าของเจ้าแม่อิ่มสดใส เหมือนมีรอยยิ้มอย่างมีความสุข ไม่ทุกข์ทรมานด้วยความเจ็บป่วย ศพของเจ้าแม่บัวจ้อนเผาที่ป่าช้าแม่อางนั้นเอง หลังจากเสร็จงานศพของเจ้าแม่แล้ว หลวงพ่อก็ได้พูดกับผมว่า “เวทย์ เฮาอายุยังหนุ่มน้อย ขอหื้อกลับไปเรียนธรรมที่วัดเต๊อะ ส่วนเฮานั้นบ่เอาหยังแล้ว เฮาชอบความวิเวก” จากนั้นผมก็กลับไปเรียนที่วัดบุญยืนตามคำบัญชาของหลวงพ่อ”ต่อจากนั้นอีกไม่นานประมาณ พ.ศ. ๒๔๙๔ หลวงพ่อก็จากป่าช้าแม่อางกลับมาบำเพ็ญภาวนาที่ป่าช้าศาลาวังทานอีกหนึ่งพรรษา หลวงพ่อเกษมอยู่ป่าช้าศาลาวังทานอย่างสงบสุขได้นานพอสมควร กิตติศัพท์การปฏิบัติธรรมของท่านเลื่องลือไปไกล ทำให้ประชาชนพากันเลื่อมใสศรัทธา ชักชวนพากันมานมัสการท่านอยู่เนืองๆ ป่าช้าที่เคยสงบสุขเริ่มคลาคล่ำไปด้วยผู้คนและเสียงรบกวน ใครรู้ก็อยากไปกราบท่าน อยากนำอาหารไปถวาย ช่วงนี้อายุท่านเริ่มมากขึ้น ชื่อเสียงในวัตรปฏิบัติของหลวงพ่อเกษมได้ขจรขจายไปทั่วประเทศต่อมาท่านก็เดินทางไปอยู่ที่ป่าช้านาป้อใต้ และกลับมาอยู่ประตูม้า ซึ่งก็คือสุสานไตรลักษณ์ในปัจจุบันต่อมา (ไม่ทราบปีพ.ศ.) พระอินทวิชยาจารย์ (หล้า อินฺทวิชโย) ได้นิมนต์แกมขอร้องให้ท่านไปอยู่ที่วัดม่อนพญาแช่ เพื่อให้หลวงพ่อช่วยบูรณปฏิสังขรณ์ศาสนวัตถุ โดยการขออนุญาตหลวงพ่อสร้างเหรียญของท่านให้ประชาชนได้บูชากันเพื่อนำปัจจัยไปพัฒนาวัดม่อนพญาแช่ ซึ่งต้องใช้เงินเป็นจำนวนมาก เสร็จภารกิจที่วัดม่อนพญาแช่ หลวงพ่อเกษมได้กลับเข้าไปอยู่ที่สุสานไตรลักษณ์หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ฝึกฝนตนเองอย่างเคร่งครัด ขณะที่หลวงพ่อมีร่างกายแข็งแรงจะออกบิณฑบาตเป็นวัตร ตามหมู่บ้านใกล้ป่าช้า และฉันอาหารเพียงมื้อเดียว ฉันเฉพาะในบาตรเป็นวัตร นั่งฉันอาหาร ณ อาสนะเดียวเป็นวัตร อาหารที่ฉันนั้นเป็นอาหารที่บูดและเสียแล้ว ซึ่งคนทั่วไปกินแล้วจะต้องหายารับประทาน หรือถึงกับไปโรงพยาบาลให้หมอรักษาก็ได้ หลวงพ่อฝึกฉันอาหารที่บูดและเสียแล้วโดยไม่มีอาการท้องเสียหรือท้องร่วง เป็นที่ฉงนสนเท่ห์ของผู้ที่อยู่ใกล้ชิด และก็ไม่เคยเห็นหลวงพ่อป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารแต่อย่างใด การฉันอาหารมื้อเดียวหลวงพ่อจะจัดอาหารเป็นอย่าง ๆ เช่น ผัก น้ำพริก ผลไม้ ขนม พอสำหรับฉันมื้อนั้นไว้ในบาตร และจะฉัน ณ อาสนะเดียวเท่านั้นเป็นประจำ บางครั้งหลวงพ่อจะไม่ฉันอาหารเป็นเวลาหลาย ๆ วันติดต่อกัน บางครั้ง ๓ วัน บางครั้ง ๕ วัน บางครั้งเป็นเวลาถึง ๗ วัน จะฉันแต่น้ำ น้ำหวาน ผลไม้เท่านั้น และฉันเพียงเล็กน้อยมื้อเดียว ร่างกายของหลวงพ่อจะทรงอยู่และผอมลง ขณะนี้เหลือแต่หนังหุ้มกระดูก หลวงพ่อบำเพ็ญสมณธรรมให้กิเลสสิ้นไปจากจิตเพื่อความหลุดพ้นเข้าสู่นิพพานตามธรรมบัญญัติในด้านการประพฤติปฏิบัติธรรมโดยทั่วไปนั้น คือ ท่านบำเพ็ญอยู่ในธุดงควัตร อยู่ป่าช้าเป็นวัตร ฉันมื้อเดียวเป็นวัตร นุ่งห่มจีวร ๓ ผืนเป็นวัตร นุ่งห่มผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และสิ่งที่นำความมหัศจรรย์ใจมาสู่ปวงศิษย์ก็คือ ในยามสมาทานวัตรของหลวงพ่อ ท่านจะนอนหมอบอยู่ที่เชิงตะกอนทั้งวันทั้งคืน โดยไม่คำนึงถึงแดดและฝน และแม้แต่ความหนาวจะเยือกเย็นสักปานใด ซึ่งวิสัยคนธรรมดายากที่จะอดทนเช่นนั้นได้ ท่านมักสอนว่า เมื่อมันร้อน มันหนาว เราก็อย่าร้อนอย่าหนาวกับมัน คุณธรรมอันนี้เองก่อให้เกิดศรัทธาปสาทะแก่ปวงศิษย์ และยังความเคารพนับถือแก่พระเถรานุเถระในจังหวัดลำปางยิ่งนัก การปฏิบัติธุดงควัตรอันเคร่งครัดมิใช่เพียงแต่โสสานิกธุดงค์ ถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตรเท่านั้น แต่หลวงพ่อเกษมยังได้ปฏิบัติธุดงควัตรหลาย ๆ ข้อไปพร้อม ๆ กัน เป็นการฝึกฝนตนเองเพื่อให้เป็นคนมักน้อย สันโดษ และเผากิเลสให้เหือดแห้งที่สุสานไตรลักษณ์เมื่อมีการเผาศพครั้งใด ตกดึกหลวงพ่อท่านจะไปพิจารณาปฏิบัติกรรมฐานที่เชิงตะกอน เพื่อแผ่เมตตาและโปรดสัตว์ในลักษณะนั่ง ยืน นอนและคุกเข่าก้มนอนท่ากบเป็นเวลานาน ท่านเป็นผู้ที่พูดน้อยเสียงเบาเหมือนกระซิบ หลวงพ่อท่านไม่ค่อยสรงน้ำ แต่กลิ่นกายท่านสะอาดมากในหนังสือที่ระลึกคล้ายวันเกิดหลวงพ่อเกษม เขมโก ยังได้กล่าวถึงการฝึกฝนตนเองอย่างเคร่งครัดของหลวงพ่อเกษม ความตอนหนึ่งว่า หลวงพ่อนั่งวิปัสสนากัมมัฏฐานอยู่กลางแจ้งทั้งกลางวันและกลางคืนในช่วงเดือนเมษายน ซึ่งเป็นฤดูกาลที่มีอากาศร้อนที่สุดในเดือนนี้ หลวงพ่อได้ปฏิบัติเช่นนี้จนร่างกายกร้านเป็นสีน้ำตาลไหม้ โดยไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ไม่เอนหลังลงนอน ได้แต่นั่งวิปัสสนากัมมัฏฐาน ยืน และเดินจงกรม ฉันอาหาร ณ ที่นั้น กลางคืนนั่งหลับ ณ ที่อาสนะโต๊ะนั่ง เอาฝ่ามือรองหน้าผากไว้นั่งหลับ ปกคลุมด้วยผ้าจีวรและหลับเพียงชั่วครู่ชั่วยามเท่านั้น หลวงพ่อทนต่อความร้อนของแสงอาทิตย์ได้ตลอดทั้งวันโดยไม่มีอะไรกำบัง การอยู่ในที่กลางแจ้งเป็นวัตร ซึ่งหลวงพ่อเรียกว่า ออกอากาศ การนั่งในที่กลางแจ้งตากแดดอย่างนั้น ก็เพื่อเป็นการฝึกแยกจิตออกจากกาย บางปีในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นเดือนที่อากาศหนาวมากที่สุดในภาคเหนือ หลวงพ่อจะ่นั่งวิปัสสนากัมมัฎฐานอยู่กลางแจ้ง ตลอดทั้งกลางวันทั้งกลางวันเป็นเวลาแรมเดือน โดยปฏิบัติเช่นเดียวกับอยู่ในที่แจ้งในเดือนเมษายนของทุกปี ครองแต่ผ้าไตรจีวรเท่านั้น ในที่โล่งแจ้งในเวลากลางคืน ปลายเดือนธันวาคม อุณหภูมิลดลงถึงศูนย์องศาเซลเซียส หลวงพ่อสามารถทนต่อความหนาวเหน็บในเวลากลางวันได้ โดยการฝึกแยกจิตออกจากกาย ถ้าเป็นบุคคลธรรมดาคงเป็นโรคปอดบวมตายอย่างแน่นอน ธุดงควัตรเช่นนี้ หลวงพ่อทำได้สำเร็จมาแล้ว หลวงพ่อปฏิบัติธุดงค์มาโดยตลอด เพื่อละกิเลสอันละเอียดออกจากจิตใจให้หมดสิ้น การปฏิบัติธุดงควัตรของหลวงพ่อดังกล่าวมาทั้งหมดนั้น สิ่งที่น่าแปลกก็คือว่าตามร่างกายของท่านไม่ปรากฏรอยกัดของยุงเลย อีกอย่างปกติหลวงพ่อจะสรงน้ำปีละหนึ่งครั้ง แต่ไม่มีกลิ่นตัวเลย ท่านงดการสรงน้ำมาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๑๔ จนถึงปัจจุบัน (๒๕๓๘)ตอนที่หลวงพ่อจะฉันนั้น หลวงพ่อจะต้องมีนาฬิกาสิบสองชั่วโมง ท่านทดลองทุกวินาทีอย่างเช่นว่า ทุกวันท่านจะต้องฉันวันละหนึ่งมื้อ ท่านจะฉันตอนไหนก็ได้ ท่านจะฉัน เช่น วันนี้ ฉันสองโมง พรุ่งนี้ฉันสามโมง หรือกินตอนเช้าก็ได้ ท่านก็ต้องพิจารณาดูว่า ทุกนาทีเป็นอย่างไร ท่านจะต้องฉันให้ทัน “ตีนฟ้ายก” วันใหม่ คือจะฉันเวลาไหนก็ได้ ห้ามพ้นวัน จัดกับข้าวบางทีจัดตีสอง แต่ท่านฉันตีสี่ จนบางทีข้าวเหนียวแข็งไปหมด ท่านก็ฉันได้ บางทีท่านฉันฉันอยู่ หรือท่านจัดอาหารอยู่ ตีนฟ้ายก เลยไม่ได้ฉันเลยก็มี เพราะท่านตั้งปฏิญาณไว้ว่า จิตท่านกำหนดไว้ว่า ท่านฉันครั้งเดียว แต่จะฉันกี่โมงก็ได้เรื่องนี้ได้มีผู้เล่าถึงเหตุผลที่หลวงพ่อได้ทำเช่นนั้น ซึ่งเป็นเหตุผลที่หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ แห่งวัดสะแก ได้อธิบายให้กับเหล่าลูกศิษย์ฟังดังต่อไปนี้หลวงปู่ดู่ เล่าเรื่อง หลวงพ่อเกษม เขมโกในบรรดาพระสุปฏิปันโนหลาย ๆ ท่านนั้น"หลวงพ่อเกษม เขมโก" สุสานไตรลักษณ์ เป็นพระอันดับต้น ๆ ที่ "หลวงปู่ดู่" .... กล่าวยกย่องชมเชยจนอยู่มาวันหนึ่ง มีเรื่องราวที่ผู้คนกล่าวถึงหลวงพ่อเกษมในทางที่อาจเกิดการปรามาสท่านได้นั่นก็คือเรื่องที่ หลวงพ่อเกษมฉันอาหารในยามวิกาล...ในบางคราวหลวงปู่ดู่ ตั้งคำถามกับลูกศิษย์คนหนึ่งว่าแกเห็นว่ายังไง เข้าใจยังไง กับการที่หลวงพ่อเกษม ท่านฉันอาหารในยามวิกาลในบางคราวลูกศิษย์ก็ไม่กล้าแสดงทัศนะ เพราะกลัวบาปหลวงปู่จึงเมตตาอธิบาย ให้ทราบถึงเหตุผลของเรื่องนี้ว่าหลวงพ่อเกษมท่านต้องการสงเคราะห์ดวงวิญญาณ ที่มาขอส่วนบุญในเวลานั้น ๆโดยการนำอาหารที่ญาติของเขานำมาถวายไว้ (ตั้งแต่ตอนเช้า) มาฉันให้เขาได้บุญแล้วจึงค่อยอุทิศส่วนบุญไปให้...ดวงวิญญาณนั้นจึงเป็นอันว่า หลวงพ่อเกษมท่านทำเพื่อ "สงเคราะห์ผู้อื่น"หาใช่ทำเพราะความมักมากในอาหารหากเราได้ศึกษาข้อวัตรของท่านให้ดี ก็จะทราบว่าโดยปรกติแล้ว ท่านจะฉันเอกา (ฉันวันละครั้งเดียวเท่านั้น)รวมทั้งฉันสำรวม (คือเอาอาหารคาวหวานมารวมกันในบาตร)องค์ท่านเองก็ผอมเหลือเกิน จึงไม่น่ามีเหตุผลที่มาที่ไปว่า ท่านเป็นผู้มักมากในอาหารแต่อย่างใดเรื่องที่ "หลวงปู่ดู่" ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ได้ฟัง จึงทำให้ศิษย์ทั้งหลาย ณ ที่นั้น ได้เรียนรู้ว่าเรามิพึงด่วนสรุปอะไร ๆ จากภาพที่เห็นภายนอกเพราะยังมีหลายสิ่งหลายอย่าง...ที่เกินสติปัญญาความรู้ของเราแต่อย่างไรก็ดี จะสังเกตว่าเรื่องดังกล่าวนี้ (หมายถึง การฉันอาหารยามวิกาล)องค์หลวงพ่อเกษมเอง ก็มิได้ทำเป็นกิจวัตรหากแต่นาน (แสนนาน) จะทำสักหนหนึ่งและก็มิได้กระทำอย่างผู้มีแผล คือ ต้องแอบ ๆ ทำเพราะ "หลวงปู่ดู่" กล่าวยกย่องท่านว่า...เป็นผู้ไม่มีแผลแล้ว เป็นผู้ที่ใคร ๆ จะปรับอาบัติท่านไม่ได้แล้วเฉกเช่นเดียวกับ...พระผู้หลุดพ้นแล้วทั้งปวงความเป็นอยู่ของท่านเหล่านั้น ล้วนเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สัตว์โลกโดยถ่ายเดียวซึ่งหากเป็นผู้ที่ยังไม่หมดกิเลส ทำอย่างเดียวกันกับท่าน ย่อมไม่พ้นอาบัติและย่อมเป็นความเศร้าหมองแก่ตนเองโดยถ่ายเดียวหลวงพ่อเกษม เขมโก พำนักอยู่ในป่าช้าตลอดมา อาศัยอยู่ตามศาลาในป่าช้า ในกระท่อมหรือในเสนาสนะที่ผู้อื่นปลูกสร้างให้อยู่เท่านั้น ดำรงชีพด้วยการบิณฑบาต เจริญวิิปัสสนากัมมัฏฐานเพื่อขัดเกลากิเลสให้สิ้นไปจากจิตและมักน้อยสันโดษอยู่อย่างสงบปฏิบัติธรรมอย่างเดียว หลวงพ่อไม่ใช้มุ้งกางกันยุงกัด ไม่มีหมอนหนุนนอน ไม่มีผ้าห่มมีแต่เสื่อปูนั่ง ใช้จีวรเป็นผ้าห่ม เป็นมุ้ง สาเหตุที่หลวงพ่อไม่กางมุ้งนอน ไม่ใช้หมอน ไม่ใช้ผ้าห่ม ก็คงมาจากเรื่องนี้..มีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่ท่านกำลังนั่งบำเพ็ญภาวนาอยู่ในอาศรมของท่าน ณ ป่าช้าศาลาวังทาน เวลาจวนพลบค่ำ เจ้าหัวขโมยคนหนึ่งได้แฝงกายเข้ามาในความมืดสลัว มันคงตั้งใจมาเพื่อขโมยของ ๆ หลวงพ่อ แล้วก็เป็นความจริง มันมาเพื่อขโมยมุ้งของหลวงพ่อ ขณะที่มันกำลังใช้ความพยายามแก้และดึงเชือกสายมุ้งเพื่อให้ขาดนั้น มันไม่สามารถที่จะปฏิบัติหน้าที่ของมันให้สำเร็จโดยสะดวกดั่งใจนึก หลวงพ่อคงจะได้ยินเสียงดึงสายมุ้งของท่าน ท่านจึงปลงวิปัสสนาแล้วช่วยแก้เชือกข้างฝาที่ผูกหูมุ้งไว้ เมื่อหลวงพ่อแก้เชือกสายมุ้งเสร็จเรียบร้อย หลวงพ่อก็ยื่นมุ้งพร้อมด้วยผ้าห่ม หมอน ส่งให้เจ้าหัวขโมย พร้อมกันนั้น หลวงพ่อก็รีบโบกมือไล่ บอกให้เจ้าหัวขโมยรีบเอาข้าวของหนีไปโดยเร็ว ที่หลวงพ่อได้โบกมือไล่บอกให้ขโมยรีบหนีนั้น เพราะเกรงว่าคนอื่นจะมาพบเห็นเข้า และเกรงว่าขโมยจะได้รับเคราะห์กรรมหรือถูกประชาทัณฑ์นั่นเอง ขโมยรายนี้น้ำใจของมันช่างดำเหมือนถ่าน เห็นหลวงพ่อช่วยแก้สายมุ้งให้ มันก็ยังเอามุ้ง หมอน ผ้าห่มของหลวงพ่อไปได้ลงคอ มิใช่การขโมยเสียแล้ว จะเรียกว่ามันมาปล้นทรัพย์ของหลวงพ่อก็ประณามได้ จากเหตุการณ์ที่ผ่านมาในครั้งนั้นจนถึงปัจจุบันนี้ (พ.ศ.๒๕๓๘) หลวงพ่อจึงได้สละมุ้ง ผ้าห่ม หมอน ตราบเท่าทุกวันนี้มีข่าวร่ำลือกันอย่างหนาหูว่า หลวงพ่อเกษมชอบเดินเก็บเศษกระดาษตามข้างถนน สาเหตุที่หลวงพ่อเก็บเศษกระดาษซึ่งมีผู้คนนำมาทิ้งเกลื่อนกลาดก็เพราะว่า ในกระดาษนั้นล้วนแต่มีตัวหนังสือซึ่งหลวงพ่อเกษมท่านถือว่าเปรียบเสมือนครูผู้ให้ความรู้ประการหนึ่ง และกระดาษบางแผ่นก็ยังมีภาพพระบรมฉายาลักษณ์ของล้นเกล้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งเป็นที่เคารพเทิดทูนของประชาชนทั่วทั้งแผ่นดินข่าวที่ร่ำลือกันนั้นเป็นความจริงทุกประการ เพราะทุกครั้งที่หลวงพ่อได้รับนิมนต์ไปโปรด ณ ที่ แห่งใดก็ตาม หลวงพ่อจะมีภาระเพิ่มขึ้นอีกมากมายทีเดียว เมื่อมีผู้มานิมนต์หลวงพ่อให้เดินทางไปโปรดยังบ้านของตนนั้น หลวงพ่อจะมีการเตรียมตัวท่านไว้ล่วงหน้าเสมอ ก่อนเดินทางหลวงพ่อต้องเตรียมหาถุงใส่กระดาษเก็บหนังสือใส่ เพื่อเอามาล้างน้ำที่สำนัก หลวงพ่อเกษมรับกิจนิมนต์เดินทางไปด้วยเท้าเปล่า ไม่สวมรองเท้าและไม่ยอมนั่งรถทุกชนิด เป็นอยู่อย่างนี้นับได้ ๓๐ ปีเศษแล้ว เพราะหลวงพ่อเป็นพระที่ถือธุดงควัตร หลายต่อหลายคนจะมองเห็นเป็นของแปลกประหลาดทั้ง ๆ ที่ท่านเหล่านั้นมีการศึกษาสูง เมื่อเห็นหลวงพ่อเก็บกระดาษตามสองข้างถนนหลวงพ่อเคยกล่าวว่า เขาเหล่านั้นเป็นคนขาดสติ ไม่นึกถึงว่าหนังสือในเศษกระดาษนั้นเป็นเสมือนครูบาอาจารย์ชั้นสูงสุดของเรา การทิ้งหนังสือขว้างปาหนังสือไว้ให้เกลื่อนกลาดตามข้างถนนเดินเหยียบย่ำไปอย่างไม่มีความเคารพ เหมือนกับเรานี้ไม่เคารพตัวครูบาอาจารย์ ทำเช่นนี้เป็นการกระทำที่ถูกหรือ เศษกระดาษดังได้กล่าวมานี้ บางชนิดเป็นถุงใช้บรรจุอาหารต่าง ๆ บางทีก็เป็นใบปลิวโฆษณา ส่วนมากถูกนำมาทิ้งขว้างตรงหน้าบ้านบ้าง ข้างถนนบ้าง ผู้กระทำเช่นนี้ได้ชื่อว่าไม่เคารพครูบาอาจารย์ เหยียบย่ำครูบาอาจารย์ (คือหนังสือไทย) อันเป็นสมบัติใหญ่หลวงของชาติไทย หนังสือไทย เป็นผู้ให้ซึ่งสติปัญญา ให้ความเฉลียวฉลาดแก่ตัวเรา ให้อาชีพให้ตำแหน่ง ให้เกียรติยศชื่อเสียง หรือแม้แต่ในกระโถนที่เขาเอากระดาษหนังสือพิมพ์รองไว้ หากหลวงพ่อเห็น ท่านก็จะรีบหยิบเอากระดาษหนังสือพิมพ์ออกมาเก็บไว้ แล้วเอากลับมาอาบน้ำที่สำนัก แม้แต่กระดาษที่มีตัวอักษรไทยติดอยู่ แม้ว่าจะมีความสกปรกเปรอะเปื้อนปานใดก็ตาม ถ้าหลวงพ่อพบเห็นเข้าก่อน ท่านก็จะไม่มีความรังเกียจจะรีบหยิบขึ้นมาปัดเป่าฝุ่น ชำระล้างสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ด้วยตัวท่านเอง หลังจากที่เสร็จกิจการรับนิมนต์แล้ว หลวงพ่อก็จะเอาเศษกระดาษหนังสือไทยออกจากถุงที่บรรจุเอาไว้ ออกมาชำระล้างจนสะอาด บีบรวมกันเป็นก้อน จากนั้นก็นำเอาไปไว้บนต้นไม้ง่ามไม้สูง ๆ กันไม่ให้คนเข้าไปเหยียบย่ำอีก ถ้ามีเศษกระดาษจำนวนเพียงเล็กน้อย ท่านก็จะสั่งให้จัดการเผาเสีย

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จไปปฏิบัติพระราชภารกิจที่จังหวัดลำปางในโอกาสต่างๆ เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๑ รวมทั้งสิ้น ๒๑ ครั้ง ในครั้งที่ ๑ - ๑๐ ก็ยังไม่มีโอกาสได้พบหลวงพ่อเกษม จนกระทั่งเมื่อครั้งเสด็จไปทรงปฏิบัติพระราชภารกิจที่จังหวัดลำปางในครั้งที่ ๑๑ เมื่อ วันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๑ จึงเป็นวาระแรกที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้พบกันโดยในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วย สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามพระบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงประกอบพิธีตัดลูกนิมิตอุโบสถวัดคะตึกเชียงมั่น และพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน ครั้นเมื่อเสร็จพิธีตัดลูกนิมิตแล้ว ทรงมีพระราชดำรัสกับพระอินทวิชยาจารย์ (หล้า อินฺทวิชโย) เจ้าอาวาสวัดคะตึกเชียงมั่น ท่านเจ้าอาวาส ได้ถวายพระพรแนะนำให้ทรงรู้จักหลวงพ่อเกษม เขมโก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสกับหลวงพ่อเกษม เขมโก และทรงถวายยาชุดพระราชทานแก่หลวงพ่อเกษม เขมโก ด้วย

มีเกร็ดเรื่องเล่าเกี่ยวกับวัตถุมงคลที่หลวงพ่อเกษมนำมาถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวันนั้นดังนี้

ในคราวพระเจ้าอยู่หัวเสด็จวัดคะตึกเชียงมั่น จ.ลำปาง เมื่อวันที่ ๖ ก.พ.ปี ๒๕๒๑ เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง (ญาติผู้น้องหลวงพ่อ) ได้นำพระเครื่องเหรียญเงินรูปเหมือนหลวงพ่อฯ จำนวน ๙ องค์ มอบให้หลวงพ่อฯ เพื่อนำทูลเกล้าฯ ถวาย หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้หันมอง พร้อมกับบอกเจ้าประเวทย์ว่า "เวทย์ เราไม่ได้สร้างพระนะ เวทย์สร้าง ก็ถวายเองซิ" ส่วนหลวงพ่อฯ ได้ถวายพระพร พร้อมกับถวายก้านธูปภาวนา 1 ก้านและริบบิ้นสีธงชาติ 3 ชิ้น แด่พระเจ้าอยู่หัว

ต่อจากนั้นเป็นต้นมา ก็ได้เสด็จมาทรงเยี่ยมหลวงพ่อเกษมในวาระโอกาสต่างๆ ทั้งเพื่อทรงสนทนาธรรม และทั้งในคราวที่หลวงพ่อเกษมอาพาธ อีก ๓ ครั้ง ดังนี้

วันเสาร์ที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ เวลา ๑๕.๑๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ไปทอดพระเนตรสุสานไตรลักษณ์ ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง จากนั้น จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมหลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งอาพาธด้วยโรควัณโรคกระดูก อยู่ ณ ตึกทองใบ ทิวารี โรงพยาบาลลำปาง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินกลับ ถึงพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เมื่อเวลา ๒๐.๓๐ น.

วันอังคารที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ เวลา ๑๖.๐๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ จากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ไปทรงนมัสการเยี่ยมหลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งอาพาธอยู่ ณ โรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือ ลำปาง ในโอกาสนี้ มีพระราชดำรัสกับหลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นเวลาพอสมควร จึงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับ ถึงพระตำหนักภูพิงคราช นิเวศน์ เมื่อเวลา ๒๐.๓๕ น.

วันจันทร์ที่ ๑๕ มีนาคม ๒๕๓๖ เวลา ๑๖.๐๕ น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง เสด็จพระราชตำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ จากพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ไปทรงนมัสการพระอาจารย์เกษม เขมโก ณ สำนักปฏิบัติธรรม สุสานไตรลักษณ์ ตำบลทุ่งฝาย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

ครั้นเสด็จพระราชดำเนินถึง เสด็จขึ้นยังมณฑป สุสานไตรลักษณ์ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธชินราชจำลอง เสร็จแล้ว เสด็จลงจากมณฑป ทรงพระดำเนินไปยังบรรณศาลาศิตยาถวาย เพื่อทรงนมัสการ พระอาจารย์เกษม เขมโก ซึ่งเป็นพระเถระผู้เจริญด้วยอายุพรรษา ทั้งมุ่งปฏิบัติทางสมถกรรมฐาน และวิปัสสนากรรมฐานเป็นที่เคารพศรัทธาปสาทะของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสนทนาธรรมกับพระอาจารย์เกษม เขมโก อยู่เป็นเวลาอันสมควร ในโอกาสนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงถวายยารักษาโรค ผ้าไตร ผ้านวม และไฟฉาย ตลอดจนปัจจัยเพื่อใช้ในการบำรุงสำนักปฏิบัติธรรม สุสานไตรลักษณ์ด้วย สมควรแก่เวลา จึงประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับถึงพระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ เมื่อเวลา ๒๑.๒๐ น.

และในวันพุธที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗ เวลา ๑๕.๑๐ น. สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักภูภิงคราชนิเวศน์ จังหวัดเชียงใหม่ ไปทรงนมัสการ หลวงพ่อเกษม เขมโก กับทรงถวายผ้าห่ม ยารักษาโรคและปัจจัยแก่พระภิกษุ ณ สถานปฏิบัติธรรม - มณฑป สำนักสุสานไตรลักษณ์ ลำปาง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

หลวงพ่อเกษม เขมโกเป็นผู้ที่ชื่นชมในพระราชปฏิปทาและพระจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากการที่ท่านได้นำพระฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวประดิษฐานอยู่เหนือเตียงเบื้องหัวนอนในกุฏิของท่าน นอกจากนั้น ท่านยังได้แนะนำสิ่งที่ควรปฏิบัติหรือ พึงละเว้นการปฏิบัติกับสิ่งของที่มีพระฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอยู่ด้วย ดังเช่น

เวลามีการฝังศพ ไม่ควรเอาเหรียญของในหลวง โยนใส่ลงไปด้วย ไม่ว่าจะเป็นการโยนใส่ในพระธาตุ หรือ สะดือของพระสังกัจจายน์ก็ตาม ห้ามโยน เพราะในหลวงท่านเป็นเทพมาเกิด ถ้าไม่ใช่เทพมาเกิด มีหวังท่านสู้ไม่ได้แน่ บางคนทำบุญ ไม่เข้าใจทำ แทนที่จะได้บุญ กลับไม่ได้ดี เป็นต้น

เรื่องพับแบงก์นี้ หลวงพ่อต้องการที่จะรักษาด้านที่เป็นกษัตริย์ไว้ โดยที่ท่านพับด้านนี้เข้าข้างใน เพราะท่านไม่ต้องการให้กษัตริย์ต้องหม่นหมอง พับไม่ให้เสียหาย ตกหล่น เสียหาย ท่านว่า บุญบารมีของในหลวงสูง

เรื่องมาจากคำพยากรณ์ของท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทย ผู้มีบารมีสูงแห่งวัดบ้านปาง อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ที่ได้พยากรณ์ให้พ่อหนานติ๊บ นามคุณา อดีตอาจารย์ (มรรคนายก) วัดศรีล้อม ขณะนั้นพ่อหนานติ๊บอายุ ๑๙ ปี บวชเป็นสามเณรอยู่ที่วัดพระแก้วดอนเต้า และเป็นผู้คอยติดตามอุปัฏฐากครูบาเจ้าศรีวิชัยท่านเมื่อครั้ง ครูบาเจ้าศรีวิชัยมาบูรณะพระวิหารหลวง วัดพระแก้วดอนเต้า จังหวัดลำปาง ในพ.ศ. ๒๔๖๗ ฟังว่า “เณร วันหน้าต๋นบุญสู จะมาเกิดในเมืองเวียงละกอน (ลำปาง) บ่าเดี่ยว (เวลานี้) ยังน้อยอยู่”

คำทำนายของท่านครูบาศรีวิชัย ลือกระฉ่อนกันไปทั่ว ต่างคนต่างอยากจะได้พบเห็น ลือกันไม่นานข่าวก็เงียบ พอตกมาถึงสมัย “หลวงพ่อเกษม เขมโก” ดัง ที่สุสานไตรลักษณ์ ประตูม้า ใคร ๆ ต่างก็มองกันไปที่หลวงพ่อเกษม ว่าเป็น “ตนบุญ” ตามที่ครูบาศรีวิชัยว่า แต่ก็ไม่มีใครถามหลวงพ่อเกษมในเรื่องนี้ แต่ถึงแม้ใครจะไม่ถาม หลวงพ่อก็รู้ข่าวว่า คนลำปางกำลังมองมาที่ท่านว่าเป็น “ตนบุญ” วันหนึ่งในขณะที่ คุณคำมูล เจริญหล้า ศิษย์ใกล้ชิดหลวงปู่เกษม เขมโก ท่านหนึ่งกำลังนั่งใกล้หลวงพ่อ ท่านก็บอกกับคุณคำมูลว่า “เรานี้แหละ คือ ตนบุญ คือ กินข้าวหมดเป็นบุงบุง” ซึ่งคุณคำมูลก็พลอยหัวเราะผสมไปกับหลวงพ่อ ด้วยไม่รู้จะว่าอย่างไร เรื่องนี้คุณคำมูลเล่าไว้ในหนังสืออนุสรณ์ครบรอบ ๘๐ ปี หลวงปู่เกษม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๔

เรื่องเล่าต่อไปนี้ที่จะฟังให้เป็นเรื่องขำขันก็ได้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับความพิสดารทางด้านพลังจิตของหลวงพ่อเกษม เขมโก เรื่องหนึ่ง ซึ่งเรื่องนี้เมื่อพิจารณาแล้วก็เห็นว่าเป็นเรื่องที่มีความแปลกประหลาดอยู่ไม่น้อยเหมือนกัน เรื่องมีอยู่ว่า...ครั้งหนึ่ง มีชาวอินเดียไปนมัสการท่าน ณ สุสานไตรลักษณ์ หลวงพ่อให้สัญญาณมือแก่ชาวอินเดีย และพูดออกมาสำเนียงแขกว่า“ยาซาลู ยาซาลู ยาซาลู”แทนที่ชาวอินเดียคนนั้นจะงง แกกลับหลังหันเดินกลับมุ่งหน้าไปนั่งอยู่ในศาลาที่พักครั้งนั้นท่านพระครูวีีรสารโกวิิท (โกวิท โกวิทญาโณ ป.ธ.๕) เจ้าอาวาสวัดสุชาดาราม เจ้าคณะอำเภอแจ้ห่ม จังหวัดลำปาง ได้มีโอกาสมาพบกับเรื่องนี้เข้าพอดี เกิดความสงสัยที่ชาวอินเดียฟังภาษาที่หลวงพ่อพูดสั่งรู้เรื่อง ท่านพระครูวีรสารโกวิท จึงได้เข้าไปนมัสการเรียนถามหลวงพ่อว่า“ท่านพระอาจารย์ครับ เมื่อกี้ผมได้ยินท่านพูดภาษาอินเดีย สั่งบอกชาวอินเดียคนนั้นว่า ‘ยาซาลู ยาซาลู ยาซาลู’ ที่พูดนั้นหมายความว่าอย่างไรครับ”หลวงพ่อตอบว่า “ยาซาลู ก็แปลว่า ให้ไปอยู่ศาลาโน้น”  [ยาซาลู =อยู่ศาลา]จากนั้น ท่านพระครูวีรสารโกวิท ก็เดินเข้าไปหาชาวอินเดียคนนั้นแล้วถามว่า“นี่นายห้าง หลวงพ่อพูดภาษาอินเดียเมื่อกี้นี้ นายห้างฟังรู้เรื่องไหม”เขาตอบว่า “หลวงพ่อเกษม คงมีอำนาจจิต หลวงพ่อบอกผมคล้ายภาษาของผม และผมก็มีความเข้าใจว่า ท่านสั่งให้ผมไปนั่งคอยอยู่ที่ศาลา หลวงพ่อพูดภาษาสำเนียงแขกโดยมิใช่ภาษาแขก ผมฟังก็รู้เรื่องครับท่าน ท่านมีอำนาจจิตแปลกแท้ ๆ”

อัตตโนภาษิต ปรัชญาร้อยกรองบนฝาผนังรอบกุฏิของหลวงพ่อเกษม เขมโก ถือว่าเป็นคำสอนที่ท่านได้คิดค้นเขียนขึ้นมาด้วยตนเอง อาศัยพื้นฐานความรู้ด้านปริยัติและวิปัสสนาผนวกเข้าด้วยกัน กลั่นออกมาเป็นอัตตโนภาษิต ซึ่งหมายถึง สุภาษิตที่มีเอกลักษณ์เป็นของเฉพาะตน หลวงพ่อได้ลิขิตด้วยลายมือของท่านเอง ถ่ายทอดผ่านฝาผนังรอบบริเวณกุฏิ โดยวัง เวียงเหนือ ได้บันทึกและนำมาถ่ายทอดผ่านตัวอักษรลงในกระดาษจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม เพื่อเผยแพร่สู่ศิษยานุศิษย์และสาธุชนทั่วไป จนกระทั่งได้มีการจัดพิมพ์ครั้งแล้วครั้งเล่า ทั้งนี้เพราะเห็นว่าอัตตโนภาษิตของหลวงพ่อเกษม มีคุณค่าอย่างมหาศาล เป็นการเผยแพร่ความรู้และเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกทางหนึ่งด้วยส่วนความเป็นมาและความสำคัญของอัตตโนภาษิตดังกล่าว วัง เวียงเหนือ ได้กล่าวไว้ในบันทึกหน้าคำนำ ว่า คำประพันธ์ หรือบทร้อยกรอง ของหลวงพ่อเกษม เขมโก นั้นปรากฏบนฝาผนังรอบ ๆ กู่ของหลวงพ่อเกษม ซึ่งท่านได้คัดเป็นต้นฉบับด้วยลายมือของท่าน แล้วมอบให้คนที่คอยปรนนิบัติ ซึ่งแบ่งกันเป็นเวรยาม เอามาคัดเขียนลงบนฝาผนังกุฏิ กล่าวกันว่า คำประพันธ์ทั้งหลายนี้เป็นแบบฉบับ ฉันทลักษณ์ ของท่านเอง จะเป็นกลอนหก กลอนแปดก็ไม่เชิง แต่ส่งสัมผัสรับกันอย่างคล้องจอง แต่ลักษณะของฉันทลักษณ์นี้มิใช่ส่วนสำคัญ ส่วนสำคัญของอัตตโนภาษิตนั้นอยู่ทึ่เนื้อหาสาระ มีทั้งอ่านแล้วเข้าถึงใจความของเนื้อหาได้ทันที และมีทั้งอ่านแล้วต้องใช้ความคิดหรือที่เรียกกันสูงหน่อยว่า ใช้วิจารณญาณ ถึงจะเข้าใจ ลักษณะที่เด่นชัดที่สุดคือ หลวงพ่อ ได้แทรกอารมณ์ขันลงไปในคำประพันธ์นั้น ๆ ส่วนเนื้อหามีทั้งเรื่องราวธรรมดา ชีวิตธรรมดา สูงขึ้นไปเนื้อหาที่ต้องเข้าใจ ค้นคว้าเรื่อง ธรรมะ ช่างเป็นคำที่เหมาะสมที่สุด ไม่มีอะไรจะเทียบอีกแล้วที่หลวงพ่อได้ให้หัวข้อคำประพันธ์ทั้งหลายว่า “อัตตโนภาษิต” หมายถึง สุภาษิตที่เกิดขึ้นเอง เกิดขึ้นในปัจจุบันทันด่วนและเป็นของท่านเอง คนอื่นจะรู้ จะเข้าใจ จะยอมรับ หรือไม่อย่างไร หลวงพ่อท่านคงสงบนิ่งในใจ ต่อไปนี้เป็นอัตตโนภาษิตคำกลอนของหลวงพ่อเกษม เขมโก ที่วัง เวียงเหนือ ได้บันทึกไว้ (โดยขอคัดมาเพียงบางส่วน พอให้เห็นถึงอารมณ์ขันของหลวงพ่อ ที่แฝงไว้ในอัตตโนภาษิตของท่าน) ดังนี้จากเรื่องที่เล่ามาข้างต้นนี้ จะเห็นว่า หลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นผู้ที่มีอารมณ์ดี จิตใจท่านมั่นคงไม่หวั่นไหวในอิฏฐารมณ์และ อนิฎฐารมณ์ใด ๆ ทั้งนี้เพราะท่านฝึกฝนจิตตนเองได้อย่างเข้มแข็ง รู้เท่าทันอารมณ์ทั้งปวง แต่ภายในอารมณ์ที่ขำขันของท่านนั้นมักแฝงไปด้วยสิ่งที่น่าคิดและมีสาระอยู่ไม่น้อย ถ้าใครคิดแต่เรื่องที่ตลกขบขันเพียงอย่างเดียวก็จะไม่ได้สาระอะไร แต่ถ้าคิดและพินิจพิจารณาอย่างรอบคอบแล้วก็จะได้คติธรรมและนำไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิตในทางที่ดีได้เช่นกัน

สืบเนื่องจากการที่ท่านได้สละตำแหน่งเจ้าอาวาสตั้งแต่อยู่ในวัยหนุ่ม มุ่งหน้าเข้ามาบำเพ็ญเพียรในป่าช้ามีเพียงอัฐบริขาร ๘ อย่าง ตามพุทธบัญญัติ จริยวัตรหนึ่งที่ท่านได้ถือปฏิบัติตั้งแต่นั้นมาคือการอยู่ในอิริยาบถ ๓ โดยละเว้นอิริยาบถที่ ๔ คือ การนอน เรียกกันว่า “หลังของท่านไม่เคยแตะถูกพื้นเลย” โดยการนอนของท่านจะอยู่ในท่าที่เรียกว่า “มูบ” คือ นั่งบนเก้าอี้หรือตั่ง ก้มหน้าลงบนฝ่ามือที่วางหงายอยู่บนหัวเข่าทั้งสอง การนอนและปฏิบัติสมาธิภาวนาในท่านี้เป็นเวลานาน ประกอบกับการฉันจังหันน้อยทำให้ท่านมีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังในวัยชราหลวงพ่อเริ่มอาพาธด้วยโรคปวดหลังอย่างมาก ถึงกระนั้นหลวงพ่อก็คงปฏิบัติภาวนา และอนุเคราะห์ต่อผู้ตกทุกข์ได้ยากเสมอมามิได้ขาด เมื่ออาการอาพาธของหลวงพ่อมีอาการหนักมากขึ้น บรรดาคณะศิษยานุศิษย์จึงได้นำนายแพทย์เข้าไปตรวจ นายแพทย์ได้นิมนต์ให้หลวงพ่อเข้าพักรักษาที่โรงพยาบาล แต่หลวงพ่อไม่ยอม จนกระทั่งความได้ทราบถึง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งให้นายแพทย์จากกรุงเทพ ฯ มาถวายการรักษา และผ่าตัด หลวงพ่อจึงยินยอมเข้าโรงพยาบาล นับตั้งแต่บัดนั้นมา หลวงพ่อจึงมีการเอนกายกับพื้น แต่ก็ยังไม่ยอมให้หลังแตะถูกพื้น โดยการใช้วิธีนอนตะแคงบ้างเป็นครั้งคราวหลวงพ่อเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดลำปาง เมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๕ แล้วจึงได้รับการผ่าตัดเกี่ยวกับโรคกระดูกสันหลังผุ และสันหลังงอ เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม ปีเดียวกัน เมื่อเวลา ๐๘.๕๐ น. เสร็จสิ้นการผ่าตัดเมื่อเวลา ๑๑.๕๐ น. ขณะเข้าผ่าตัดหลวงพ่อมีน้ำหนักเพียง ๓๕ ก.ก. และในการผ่าตัดครั้งนี้ คณะแพทย์ที่ทำการผ่าตัดก็ได้เห็นความสามารถทางด้านพลังจิตของหลวงพ่อเกษมให้ประจักษ์ด้วยตาตนเองเรื่องนี้ เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เล่าไว้ใน หนังสือที่ระลีกหลวงพ่อเกษม เขมโก ไว้ดังนี้“เมื่อกล่าวถึงความอดทนอันเนื่องมาจากการปฏิบัติธุดงควัตรอย่างเคร่งครัดของท่าน จะเห็นได้จากการที่หลวงพ่ออาพาธด้วยโรคกระดูกสันหลังผุ ไม่สามารถจะลุกไปไหนได้ เรื่องนี้ได้ล่วงรู้ไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ รับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ให้หมอรับมารักษาที่โรงพยาบาลลำปาง ในหลวงทรงห่วงใย และทรงโปรดพระราชทานหมอที่เชี่ยวชาญด้านกระดูกมาทำการรักษากล่าวกันว่า ตอนที่หมอจะทำการผ่าตัดเอากระดูกผุออกและใส่พลาสติกแทน ในขณะที่นำท่านเข้าห้องผ่าตัด ท่านได้ถามหมอว่าจะใช้เวลาผ่าตัดกี่ชั่วโมง หมอบอกว่าหนึ่งชั่วโมงก็เสร็จ ท่านบอกว่าไม่ต้องวางยาสลบหมอบอกว่า ไม่ได้ เพราะตอนผ่าตัดจะเจ็บปวดมาก กลัวจะทนไม่ไหวท่านบอก ไม่ต้อง ถ้าจะผ่าตัดเมื่อไรบอกด้วยเมื่อหมอทำความสะอาดร่างกายเรียบร้อยแล้วได้บอกท่านว่า หมอเตรียมพร้อมจะทำการผ่าตัดแล้วท่านก็บอกลงมือได้ จากนั้นท่านก็นอนนิ่งไม่ไหวติงคล้ายคนไข้ถูกวางยาสลบเมื่อหมอทำการผ่าตัดเย็บบาดแผลเสร็จเป็นระยะเวลาหนึ่งชั่วโมงเต็ม ท่านก็ฟื้นขึ้นมาตรงเวลา ไม่แสดงอาการเจ็บปวดหรือมีอาการเพ้อแบบคนไข้ทั่วไป พอท่านลืมตาขึ้นมาก็เรียกหมอให้เข้าไปพบพร้อมกับเป่าหัวให้ทุกคน ยังความอัศจรรย์ใจแก่หมอทั้งหลายยิ่งนักนับว่าเป็นคนไข้รายแรกก็ว่าได้ที่มีสมาธิจิตเข้มแข็งยิ่ง ซึ่งเรื่องนี้ถ้าจะกล่าวกันในด้านธรรมะ หลวงพ่อเกษมสามารถแยกกายกับจิตได้ในขณะผ่าตัด ท่านถอดกายทิพย์ออก ก็คงไว้ซึ่งร่างกายที่ไร้วิญญาณ ใครจะทำอย่างไรก็ไม่มีอาการเจ็บปวดนั่นเอง”และต่อมา ในวันที่ ๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๒๘ หลวงพ่อก็ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจังหวัดลำปางอีกเพื่อผ่าตัดต้อกระจก ซึ่งต้องผ่าตัดทำการรักษาดวงตาทั้ง ๒ ข้าง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชกระแสอาราธนาขอให้หลวงพ่อเข้ารักษาพยาบาลที่โรงพยาบาล โดยทรงรับเป็นพระราชภาระในการรักษาทุกอย่างให้และทรงรับหลวงพ่อไว้เป็นคนไข้ใน “พระบรมราชานุเคราะห์”ต่อมา ในระหว่างเข้าพรรษา ประมาณปี พ.ศ.๒๕๓๒ หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้เขียนข้อความวันทาสังขาร ทำให้ลูกศิษย์ลูกหาพากันตกใจยิ่งนัก เจ้าประเวทย์ ณ ลำปาง ได้เข้าไปร้องขอหลวงพ่อฯ ท่านกลับบอกว่า“เรารับปากในคราวนั้นนี่ก็ใกล้จะครบกำหนดอีก ๓ เดือนข้างหน้าแล้ว”เจ้าประเวทย์ ถึงกับหน้าถอดสี และได้ร้องขอให้อยู่อีก ๑๐๐ เดือน ท่านยกมือห้าม วันรุ่งขึ้นเจ้าประเวทย์ฯ พร้อมด้วยลูกศิษย์ขอให้อยู่อีก ๑๐๐ เดือน ท่านกลับนิ่งเงียบโดยไม่พูดอะไรทั้งสิ้นต่อมาพระมหาธงชัย ธัมมธโช (ปัจจุบัน พระเทพภาวนาวิกรม วัดไตรมิตรฯ) ได้เดินทางจากกรุงเทพฯ มานมัสการและได้เข้าร่วมสนทนาเรื่องนี้ด้วย ท่านบอกว่าจะอยู่อีก ๓ ปี เจ้าประเวทย์ฯ ได้พูดว่า“หลวงพ่อฯ รับปากผมไว้ ๑๐๐ เดือน นะครับ”ท่านก็ไม่ได้พูดอะไร กลับเปลี่ยนเรื่องสนทนาเป็นภาษาบาลีกับพระมหาธงชัยหลวงพ่อเกษม เขมโก ได้บำเพ็ญเพียรภาวนาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ท่านฉันอาหารน้อยมาก อีกทั้งอดอาหารเป็นระยะ ๆ ร่างกายของท่านเป็นโรคกระดูกผุและมีอาการหืดหอบมีอาการไข้ขึ้นสูงจนถึงเมื่อวันอังคารที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ เวลาประมาณ ๑๖.๓๐ นาฬิกา หลวงพ่อเกษม เขมโก เจ้าสำนักสุสานไตรลักษณ์ ประตูม้า จังหวัดลำปาง ได้ถูกนำตัวเข้ารักษาในห้องไอซียู โรงพยาบาลศูนย์ภาคเหนือลำปางเป็นการด่วน ด้วยอาการเลือดน้อยจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ (มีข่าวว่าหลวงปู่สิ้นลมหายใจ ที่กุฏิของท่าน และคุณอดิศร วัฒนบุตร หรือเจ้าของนามปากกา ''ดาว ลำปาง'' เป็นคนนำส่งที่โรงพยาบาลลำปาง หลวงปู่สิ้นลมหายใจไปประมาณ ๒ ชั่วโมง และแพทย์ได้ปั๊มหัวใจช่วยชีวิต ขึ้นมาได้ ได้ความว่า "หลวงปู่ฟื้นขึ้นมาจากสิ้นลมหายใจไป ๒ ชั่วโมง ท่านก็ได้สวดมนต์พึมพำทันที เป็นอันว่าท่านปลอดภัย")หลังจากนั้นในวันที่ ๓๐ กันยายน ทางสำนักพระราชวังได้ส่งแพทย์หลวงมาดูแลอาการของหลวงพ่อเกษมอย่างใกล้ชิด และแพทย์ได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องของโรคแทรกซ้อนระบบหายใจของหลวงพ่อ ทั้งนี้เนื่องจากหลวงพ่อเกษม มีโรคเกี่ยวกับถุงลมโป่งพอง ปอดติดเชื้ออยู่ อาการหลังจากนั้นประมาณ ๒ สัปดาห์ก็ดีขึ้นเป็นบางส่วน โดยเฉพาะในเรื่องของอาการไข้ที่ลดลง แต่การให้อาหารก็ยังใช้สายยาง ใช้เครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้อาการหลอดลมตีบตันดีขึ้นทางคณะแพทย์ที่ทำการรักษาหลวงพ่อเกษม ได้สรุปอาการของหลวงพ่อให้ประชาชนทั่วไปได้รับทราบเป็นระยะ ๆ โดยในวันที่ ๑๑ ตุลาคม ๒๕๓๘ และ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๓๘ ได้สรุปอาการของหลวงพ่อเกษมตลอด ๒๔ ชั่วโมงที่ผ่านไปว่าอาการดีขึ้น ไม่มีเลือดออกทางเดินอาหารและทางสายยาง ไม่มีไข้ อาการรับหรือตอบสนองมีเล็กน้อย ส่วนปอดที่ติดเชื้อสามารถควบคุมได้ ส่วนอาการทั่วไปปกตินอกจากนั้น ผลการตรวจรักษาต้องมีการทำหนังสือแจ้งรายงานไปยังกองราชเลขาธิการเป็นระยะ ๆ เพื่อนำความกราบบังคมทูล ตามรายงานของการตรวจรักษาต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อไป ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมานั้น ทางโรงพยาบาลได้ระดมคณะแพทย์ฝีมือดีเข้าช่วยรักษาอย่างสุดความสามารถ และตลอด ๒ อาทิตย์กว่า ๆ ก่อนที่จะมรณภาพลงนั้น อาการได้ทรุดหนักลงอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเวลา ๑๘.๓๐ น. ของวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๙ หลวงพ่อเกษมเกิดอาการของหลอดลมตีบตันโดยฉับพลันและได้หยุดหายใจไปครั้งหนึ่ง คณะแพทย์ต้องระดมกำลังทำการรักษาอย่างเร่งด่วน ด้วยการให้ยาช่วยขยายหลอดลม และการกระตุ้นหัวใจรวมทั้งต้องใช้ไฟฟ้าช่วยกระตุ้นหัวใจ แต่แล้วก็สุดที่จะช่วยเหลือเยียวยารักษาไว้ได้ หลวงพ่อเกษมจึงได้ละสังขารด้วยอาการอันสงบ เมื่อเวลา ๑๙.๔๐ น. ของวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๓๙ สิริอายุได้ ๘๓ ปี ๑ เดือน ๑๗ วัน พรรษา ๖๓ ท่ามกลางความเศร้าโศกของคณะแพทย์ที่ทำการรักษาและเหล่าลูกศิษย์ที่เฝ้าดูอาการที่โรงพยาบาลนับพัน ๆ คนสังขารของหลวงพ่อเกษมได้รับการอัญเชิญจากโรงพยาบาลศูนย์ลำปาง โดยขบวนรถตู้ ท่ามกลางศิษยานุศิษย์จำนวนหลายพันคนที่มาแสดงความอาลัยทั้งที่โรงพยาบาลและที่สุสานไตรลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานหีบทองลายองุ่น และมีพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ๓ คืนและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงสรงศพ หลวงพ่อเกษม เขมโก ณ ศาลาสุสานไตรลักษณ์ จังหวัดลำปาง โดยมีผู้แทนพระองค์ ไปสรงน้ำหลวงพระราชทานศพหลวงพ่อเกษม เขมโก ในวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๕๓๙เมื่อประมาณพ.ศ. ๒๕๐๕ หลวงพ่อรับนิมนต์เทศน์โปรดตามงานศพแห่งหนึ่ง เจ้าภาพบางคนไม่ได้ตั้งใจฟังธรรม นั่งคุยกันจนหนวกหู ท่านเลยใช้กระป๋องนมเปล่าเป็นอุปกรณ์ช่วยขยายเสียง แทนการใช้ไมโครโฟน คือใช้วิธีสะท้อนเสียงเข้าไปในกระป๋อง เสียงของท่านจึงดังกังวานคล้ายวิทยุนับเป็นเทคนิคหรือกุศโลบายอย่างหนึ่งในการจูงใจผู้ฟังได้เป็นอย่างดีในปีเดียวกันนี้เอง ยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดลำปาง ได้นิมนต์หลวงพ่อเกษมเทศน์โปรด โดยนางสาวระดม เสาจินดารัตน์ เป็นนายกสมาคมอยู่ในขณะนั้น นิมนต์หลวงพ่อเทศน์ออกอากาศทางสถานีวิทยุโดยจัดเครื่องบันทึกเสียงไปขอบันทึก ณ สุสานประตูม้า ต่อมาภายหลังหลวงพ่อเกษม เขมโก ได้เปลี่ยนชื่อใหม่เรียกว่า สุสานไตรลักษณ์ (ศาลาดำ) ลำปางหลวงพ่อเกษม เขมโก ขอเวลาทบทวนตำราก่อนเทศน์โปรดลงเทปด้วยวิธีหายเข้าไปภายในกระท่อมบำเพ็ญภาวนาของท่าน ซึ่งให้ชื่อว่า “ห้องถ่ายรูป” ท่านได้เดินเข้าไปภายในห้องนั้นซึ่งมีแต่ความมืด ครั้นได้เวลาอันสมควร ท่านจึงออกมาเทศนาโปรด คล้าย ๆ จะมีตำรากางอยู่ที่ตรงหน้าท่าน (แต่ก็ไม่มี) ท่านได้เทศน์เรื่องปัญหาพระยามิลินท์ ที่ประหลาดกล่าวคือ หลวงพ่อแยกเสียงได้เป็นสองเสียง ด้วยในเรื่องมิลินทปัญหานี้ มีคนสองคนโต้ตอบปัญหากัน คือพระยามิลินท์เป็นผู้ถามปัญหา และพระนาคเสนเป็นผู้ตอบปัญหา เวลาพระยามิลินท์ถาม หลวงพ่อทำเสียงหนึ่ง แล้วพระนาคเสนเป็นผู้ตอบปัญหา ก็เป็นอีกเสียงหนึ่ง ก่อให้เกิดความอัศจรรย์ใจแก่ผู้ได้ยินได้ฟัง มีความปีติยินดีปรีดาเป็นอย่างยิ่ง รายการยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดลำปาง ที่มีเสียงของหลวงพ่อเกษม เขมโก เผยแพร่ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียง ปชส. ลำปาง ครั้งนั้นก่อให้เกิดความตื่นเต้นยินดี และมีเสียงแซ่ซ้องโมทนาสาธุการกับผลงานของยุวพุทธิกสมาคมครั้งนั้นเป็นอย่างมาก และทางยุวพุทธิกสมาคม ได้บันทึกเสียงของหลวงพ่อเอาไว้หลายตอน นำออกอากาศติดต่อกันกว่า ๔ สัปดาห์การสอนเป็นรายบุคคลหรือวิธีการสอนเฉพาะรายนี้ ซึ่งวิธีการนี้หลวงพ่อเกษม เขมโก ได้ใช้สอนเป็นกรณีแล้วแต่ว่าบุคคลผู้นั้นจะเข้าไปหาท่านด้วยวิธีการใด ต้องการอะไร มีความทุกข์ความเดือดร้อนเรื่องอะไร หลวงพ่อพอจะช่วยเหลืออะไรแก่คนเหล่านั้นได้บ้าง แต่สิ่งที่หลวงพ่อจะให้นั้นก็คงไม่มีอะไรมากไปกว่าการสอนให้คนเหล่านั้นได้ข้อคิดในการปฏิบัติธรรม ดังตัวอย่างเรื่องนายเจริญ สหชีพ (เทียนเชียะ) หรือที่ชาวจังหวัดลำปางเรียกชื่อของแกว่า “โกเชื้อ” ซึ่งท่านผู้นี้มีจิตม่งมั่นในการแสวงหาแหล่งเหล็กไหล เคยเดินทางไปแสวงหาแหล่งเหล็กไหลมานาน แต่ก็ไม่เคยพบ หลวงพ่อเกษม จึงสั่งว่าถ้าหากมีความปรารถนาอยากจะได้เหล็กไหลจริง ๆ แล้ว โกเชียะอย่าตัดผมเลยเมื่อโกเชียะยอมรับปากกับหลวงพ่อด้วยความเต็มใจแล้ว หลวงพ่อจึงบอกโกเชียะว่านับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ขอให้โกเชียะจงปฏิบัติธรรมเถิด จากนั้นโกเชียะจึงได้เริ่มปฏิบัติธรรมและไว้ผมยาว หนวดยาว โดยไม่ยอมตัดผมและโกนหนวดเลย แม้แต่จะสระผมก็ยังไม่ยอมสระ นับเป็นเวลาร่วมสิบกว่าปี นอกจากนี้แล้วก็ยังตั้งหน้าฝึกสมาธิในยามว่างอีกด้วย เป็นที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งก็คือบนศีรษะของโกเชียะไม่มีแมลงเหาเลย นับจากวันที่โกเชียะรับปากกับหลวงพ่อ โกเชียะไม่เคยออกไปแสวงหาแหล่งเหล็กไหลจากที่ไหนอีกเลย วิธีการสอนเฉพาะรายดังกล่าวนี้ เคยมีตัวอย่างในสมัยพุทธกาลเช่นกันตามปกติแล้วหลวงพ่อเกษม เขมโก เป็นผู้มีอารมณ์เบิกบานแจ่มใสและมีเรื่องขบขันมาคุยเสมอ บางครั้งท่านคุยอะไรออกมาทั้ง ๆ ที่มีคติ คนที่นั่งอยู่ใกล้ชิดได้ยินได้ฟังการพูดคุยของท่านแล้วจะอดหัวเราะชอบใจไม่ได้ มีอยู่ครั้งหนึ่งอุบาสิกาบุญชื่น ตันบุญฤทธิ์ เข้าไปกราบนมัสการเรียนถามท่านว่า“ท่านพระอาจารย์เจ้าคะ ท่านพระอาจารย์เป็นพระอรหันต์แล้วหรือ”ท่านก็ตอบทันทีว่า “เราเป็นอาระหันต๋า หรืออาระต๋าหัน เพราะตาของเราหันทุกสิ่งทุกอย่าง (หมายความว่า ตาของเราเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง) เห็นอะไรก็อยากได้ไปหมด”อุบาสิกาบุญชื่นจึงกราบเรียนถามต่อไปว่า “ถ้าเช่นนั้น ท่านพระอาจารย์ ก็คงเป็นพระอริยะแล้ว นะเจ้าคะ”ท่านก็ตอบไปว่า “เราเป็นอริเยอะ”แปลได้ความว่า ท่านมีข้าวของที่ได้รับจากการถวายท่านไว้เยอะแยะ พอท่านตอบอุบาสิกาบุญชื่นจบแล้ว เท่านั้นแหละ เสียงฮา หัวเราะก็ดังขึ้นพร้อมกัน (ทุกคนที่ได้ยินต่างก็พากันหัวเราะชอบใจในการตอบคำถามของหลวงพ่อเกษม)อุบาสิกาบุญชื่นหาได้จบคำถามเพียงแค่นั้นไม่ ความอยากรู้อยากเห็นของแกจึงเรียนถามต่อไปอีกว่า “ท่านพระอาจารย์เจ้าคะ ท่านพระอาจารย์คงได้มรรคผลแล้วนะเจ้าคะ”หลวงพ่อเกษมก็ตอบไปทันทีเช่นกันว่า “เราได้มรรคผลแล้ว คือเรามักผลไม้ (ชอบทานผลไม้) เช่น มะม่วง มังคุด ลำไย พุทรา ทุเรียน ขนุน กล้วย ลางสาด เป็นต้น เลยได้ชื่อว่าเป็นอาจารย์มรรคผลอย่างนี้แหละโยมเอ้ย”หลวงพ่อเปี่ยมด้วยเมตตา อยากจะช่วยเหลือเด็กที่ลำบากทุกข์ยาก ให้ได้มีที่เรียนจึงได้มอบหมายให้ มหามั่ว พรหมวงศ์ ไปช่วยดำเนินการขออนุญาตจัดตั้ง มูลนิธิการศึกษาหลวงพ่อเกษม เขมโก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ๑. ให้ทุนการศึกษาแก่เยาวชนที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์

๒. สนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาพระภิกษุสามเณรเรียนธรรมวินัยและบาลีธรรมบท

๓. ให้การสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษา การวิจัยค้นคว้า อบรมและออกวารสารอันเป็นประโยชน์แก่การศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม

๔. ร่วมมือกับองค์การการกุศลอื่นๆ เพื่อสาธารณประโยชน์

๕. ไม่ดำเนินการเกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

ผู้ตั้งประมูล :
tutung9 [][]
ดูประวัติผู้ตั้งประมูล : รายการที่ตั้งประมูล [3993] รายการที่เสนอราคาประมูล [269]
*** เพื่อความปลอดภัย กรุณาตรวจเช็คประวัติของผู้ตั้งประมูลทุกครั้ง ***
ที่อยู่ : ศิษย์พระอาจารย์ทองสุข สุจิโต วัดประทุมคงคาคณะ ๑๐ ( บุญพาวาสนาส่ง )
รหัสไปรษณีย์ : 10150
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
เบอร์โทรติดต่อ : 0894857104 , 0814531141
เงื่อนไขการรับประกัน : ** รับประกันพระแท้ภายในระยะเวลา ตลอดชีพ นับตั้งแต่วันที่ท่านได้รับพระ หากเก๊ยินดีคืนเงินเต็มจำนวนไม่หักเปอร์เซ็นต์
เงื่อนไขการรับประกันเพิ่มเติม : ต้องแท้ ๑๐๐%
*** กรุณาตรวจสอบเงื่อนไขการรับประกันของผู้ตั้งประมูล พ้นกำหนดถือว่าสิ้นสุดการรับประกัน ***
รายละเอียดการโอนเงิน : ผ่านบัญชีธนาคาร
มีผู้สนใจขณะนี้ 0 คน
ผู้สนใจเมื่อ 1 ชั่วโมงที่แล้ว 0 คน

Now 0

Hour 0

สถานะ : ปิดการประมูลอัตโนมัติ
** โปรดตรวจสอบให้แน่ชัดก่อนเข้าร่วมการประมูลทุกครั้ง กรณีเกิดการผิดพลาดทางเว็บจะไม่รับผิดชอบใดๆ ทั้งสิ้น
จากคุณ
tutung9 [][]
ส่งข้อความถึงคุณtutung9
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [30/10/2558 2:33:00]
รายงานผลโหวตรายการนี้
     ระบบการโหวตนี้จะขึ้นโชว์แค่ผลโหวต สมาชิกจะไม่ทราบว่าใครเป็นผู้โหวตแต่ระบบจะเก็บรายละเอียดไว้และเห็นได้เฉพาะทีมงานเวบเท่านั้นเพื่อปกป้องผู้เสียสละที่มาช่วยดูพระให้ หากมีผู้โหวตเก๊ครบสามคน กระทู้นั้นจะ ถูกลบ ออกจากกระดานประมูล ดังนั้นระบบนี้จะช่วยกวาดล้างพระเก๊ไปในเบื้องต้น แต่ต้องขอความร่วมมือจากสมาชิกที่มีความชำนาญได้ช่วยกันครับ แต่หากมีผู้โหวตมั่วๆ จะมีการเข้าตรวจสอบ และหากมีเจตนาไม่ดีจะถูกลงโทษระงับการใช้งานหรือยกเลิกสมาชิกทันที
พระแท้    
 
0 % [0]
พระเก๊    
 
0 % [0]
หมายเหตุ : เนื่องจากมีการโหวตให้คะแนนพระเก้ในกระดานประมูลเป็นจำนวนมาก หากท่านเจ้าของพระ มีความมั่นใจว่า พระของท่านที่นำมาลงประมูลเป็นพระแท้
    ทางเว็บไซต์ ขอแนะนำให้ท่าน ทำการส่งตรวจสอบ และขอใบรับรอง จากศูนย์รับดูพระทั่วไป เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับทุกท่านที่ร่วมประมูล
สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา
สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา สนใจลงโฆษณา

กรุณาโอนเงินไปที่
ชื่อบัญชี : surat saetae
เลขที่บัญชี : 0393027478    
ประเภทบัญชี : กระแสรายวัน
ธนาคาร : ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขา : เยาวราช
E-Mail : กรุณาล็อกอินเพื่อแสดงข้อมูล

** ดูรายชื่อที่ห้ามโอนเงินโดยเด็ดขาด **
   
   
     
สมัครเปิดร้านค้า    
เรียงคำตอบจาก        

ข้อมูลยอดเยี่ยมขอบคุณครับ ...เปิด

ราคาประมูล :999  บาท
2# จากคุณ
LaaOrrLL [][]
ส่งข้อความถึงคุณรถม้าเต็มเมือง
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [30/10/2558 9:17:00]

 

หน้ากว้าง 3" ครึ่ง

1# จากคุณ
tutung9 [][]
ส่งข้อความถึงคุณtutung9
แจ้งลบกระทู้แจ้งลบกระทู้ [30/10/2558 2:41:00]


Copyright 2002-2013, All Rights Reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537
ลิขสิทธิ์ & นโยบายส่วนตัว
หน้านี้ใช้เวลาในการแสดงผล 0.0938 วินาที